Page 40 - kpiebook65030
P. 40
39
เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายเอง และยังให้ฝ่ายบริหารเป็นผู้ประเมินผลการบังคับใช้
กฎหมายเองอีกนั้น จะสามารถตอบโจทย์การปรับปรุงกฎหมายให้ดียิ่งขึ้น
ได้หรือไม่ และถ้าหากให้องค์กรอื่นมีบทบาทในการประเมินผลสัมฤทธิ์หรือ
ร่วมติดตามการบังคับใช้กฎหมายด้วยนั้น จะทำาให้เกิดผลดียิ่งขึ้นหรือไม่
ด้วยเหตุนี้ ในประเทศอังกฤษจึงเกิดแนวคิดในการประเมินผลสัมฤทธิ์
ของกฎหมายและติดตาม การบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐสภา ที่เรียกว่า “Post
Legislative Scrutiny” ซึ่งรัฐสภาในฐานะองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชน
และใกล้ชิดกับประชาชน โดยคณะกรรมาธิการสามัญที่เกี่ยวข้อง จะเป็นผู้สำารวจว่า
กฎหมายที่บังคับใช้นั้น ก่อความเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบต่อประชาชนอย่างไร
ผลการบังคับใช้กฎหมายนั้น สอดคล้องต่อเจตนารมณ์ที่มีการตรากฎหมายนั้น
ขึ้นหรือไม่ การบังคับใช้นั้นสอดคล้องกับหลักนิติธรรมและทำาให้เกิดการบังคับใช้
อย่างเสมอภาคหรือไม่ ตลอดจนพิจารณาว่า การบังคับใช้กฎหมายนั้น ก่อให้เกิด
ประโยชน์ต่อประชาชนจริงหรือไม่
กำรติดตำมกำรปฏิบัติกำรและบังคับใช้กฎหมำยในประเทศต่ำง ๆ :
ประสบกำรณ์จำกต่ำงประเทศ
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายและการติดตามการบังคับใช้
กฎหมายโดยคณะกรรมาธิการ ในรัฐสภาที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษที่เรียกว่า
“Post Legislative Scrutiny” ถือเป็นกระบวนการที่จำาเป็น เนื่องจากแม้ว่า
รัฐสภาผู้พิจารณาและออกกฎหมายจะได้มีการคิดอย่างรอบคอบและถี่ถ้วน
ในการพิจารณาร่างกฎหมายแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎหมายใดที่สมบูรณ์แบบที่สำาคัญ
เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ก็อาจเกิดผลกระทบอย่างอื่นที่คาดไม่ถึงก็ได้
ทั้งนี้ ประเทศที่นำาระบบดังกล่าวนี้ไปใช้ แม้ว่าจะมีกฎหมายกำาหนดให้ฝ่ายบริหาร