Page 41 - kpiebook65030
P. 41
40 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
เป็นองค์กรหลักที่ดำาเนินการดังกล่าว แต่ก็ไม่ได้ตัดอานาจของรัฐสภาที่จะติดตาม
การบังคับใช้กฎหมายด้วย โดยการดำาเนินการติดตามการบังคับใช้กฎหมายของ
รัฐสภาซึ่งมักจะดำาเนินการโดยคณะกรรมาธิการของรัฐสภานั้น มีรายละเอียด ดังนี้
หลักการเลือกกฎหมายส�าหรับการติดตามตรวจสอบ โดยส่วนใหญ่แล้ว
คณะกรรมาธิการในรัฐสภาจะเลือกกฎหมายที่อยู่ในอานาจหน้าที่ของ
คณะกรรมาธิการ และด้วยลักษณะการทำางานของคณะกรรมาธิการที่จะต้อง
ใกล้ชิดกับประชาชนโดยเฉพาะประชาชนที่เป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในการ
บังคับใช้กฎหมายบางฉบับที่อยู่ในอำานาจของคณะกรรมาธิการ ก็อาจจะรับฟัง
จากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย องค์กรภาคประชาสังคม นักวิชาการต่าง ๆ ที่นำาประเด็น
เกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายบางฉบับมาเสนอต่อคณะกรรมาธิการ
หรืออาจเลือกร่างกฎหมายที่สื่อมวลชนได้รายงานว่ามีปัญหาในการบังคับใช้ก็ได้
นอกจากนี้ในการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายของคณะกรรมาธิการ
ควรพิจารณาในแง่มุมต่าง ๆ ดังนี้
พิจารณาจากการบังคับใช้ : คือการพิจารณาว่า การบังคับใช้ของ
กฎหมายนั้นเป็นอย่างไร และตรงตามเจตนารมณ์ที่ได้ตรากฎหมายนั้นขึ้นหรือไม่
ประสิทธิผล : กฎหมายทุกฉบับ มักจะถูกตราขึ้นเนื่องจากมีวัตถุประสงค์
ในการแก้ปัญหาบางประการ การประเมินประสิทธิผลของกฎหมายจึงต้อง
เป็นการดูทั้งภาพรวมและรายละเอียดว่ากฎหมายนั้นสามารถแก้ไขปัญหาที่
คาดไว้แต่แรกได้หรือไม่ และกฎหมายนั้นส่งผลกระทบที่ไม่คาดหวังด้วยหรือไม่
ประสิทธิภาพ : ในการจัดทำาร่างกฎหมายนั้น อาจจะมีการคาด
การณ์ต้นทุนในการบังคับใช้กฎหมายไว้อย่างคร่าว ๆ ว่าถ้าหากร่างกฎหมาย
ดังกล่าวถูกประกาศใช้แล้ว จะต้องใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรในการบังคับใช้เพียงใด