Page 39 - kpiebook65030
P. 39
38 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
กำรติดตำมและกำรบังคับใช้กฎหมำย
บทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ
ปัจจุบัน และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำาร่างกฎหมายและการประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ได้กำาหนดขั้นตอน ในการจัดทำาร่างกฎหมาย
โดยกำาหนดให้ก่อนการจัดทำาร่างกฎหมายนั้น จะต้องดำาเนินการรับฟังความคิดเห็น
และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย (Regulatory
Impact Assessment - RIA) และเมื่อบังคับใช้กฎหมายไปแล้ว ก็จะต้องมี
การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเมื่อครบระยะเวลาที่กำาหนด
ทั้งนี้ การดำาเนินการทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น กฎหมายกำาหนด
ให้เป็นอำานาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร หรือก็คือองค์กรที่เป็นผู้รักษาการตาม
กฎหมายเป็นองค์กรหลักที่จะต้องดำาเนินการ เนื่องจากเห็นว่าฝ่ายบริหาร
เป็นผู้มีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้น ฝ่ายบริหารย่อมทราบดีว่า
กฎหมายที่ตนบังคับใช้อยู่นั้นมีปัญหาอย่างไร และควรต้องปรับปรุงอย่างไร
โดยในต่างประเทศหลายประเทศมีกำาหนดแนวคิดในการให้ฝ่ายบริหาร
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเช่นกัน โดยอาจเรียกว่า “Ex ante impact
assessment” ที่เป็นการวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษกิจและสังคมที่เกิดจาก
การบังคับใช้กฎหมาย โดยนำาเอาผลการวิเคราะห์ที่ได้ดำาเนินการตอนจัดทำา
ร่างกฎหมาย มาเปรียบเทียบกับผลที่เกิดขึ้นจริง หรือแนวคิด เรื่อง “Legislative
ex-post evaluation” ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ผลการบังคับใช้กฎหมายเช่นกัน
โดยให้ฝ่ายบริหารเก็บรวบรวมข้อมูล และสำารวจความเห็นของประชาชนว่า
กฎหมายที่บังคับใช้อยู่นั้นเป็นอย่างไร และประชาชนพอใจหรือไม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การกำาหนดให้ฝ่ายบริหารเป็นองค์กรหลักแต่เพียง
องค์กรเดียวที่ดำาเนินการดังกล่าวก็ส่งผลให้เกิดคำาถามตามมาว่า ฝ่ายบริหารเอง