Page 27 - kpiebook65030
P. 27
26 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ประชาธิปไตยทางตรงแบบสวิตเซอร์แลนด์ เป็นรูปแบบประชาธิปไตย
ที่น่าสนใจของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมันส่งผลให้พลเมืองจำาเป็นต้องมี
ความตื่นตัวทางการเมืองอยู่เสมอ กล่าวได้ว่า 1 ปีมีประชามติให้ไปลงคะแนน
อย่างน้อย 4 ครั้ง เพื่อตัดสินใจปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารทางการเมือง
นอกจากนั้นยังมีประชามติในประเด็นหลากหลายให้พลเมืองชาวสวิตเซอร์แลนด์
มาลงคะแนนอยู่สมำ่าเสมอ ตัวอย่างเช่น ประชามติเพื่อแสดงความเห็นชอบให้
เพิ่มจำานวนวันหยุดราชการ ประชามติความเห็นชอบในการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์
หรือประชามติการเพิ่มภาษีเพื่อสนับสนุนการเพิ่มเบี้ยบำานาญผู้เกษียณอายุ เป็นต้น
ประชำธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์: ฉันทำมติในสังคมภำยใต้
ควำมหลำกหลำยทำงวัฒนธรรม
ความตื่นตัวของชาวสวิตเซอร์แลนด์ โดยชาวสวิตเซอร์แลนด์ในการใช้
สิทธิลงคะแนนมากที่สุดในยุโรป ข้อสังเกตที่น่าสนใจคือ ท่ามกลางประชาธิปไตย
ทางตรงเพิ่มขึ้นทั่วโลก สวิตเซอร์แลนด์ถือเป็นที่หนึ่งในการใช้สิทธิทางการเมือง
ทางตรง นอกจากนี้แล้วยังมีการกล่าวถึงนำาเสนอ “การทำาประชามติภาคบังคับ”
ในฐานะจุดเด่นที่ทำาให้สวิตเซอร์แลนด์มีประชาธิปไตยทางตรงที่เข้มแข็งเช่นนั้น
การท�าประชามติภาคบังคับและการริเริ่มออกกฎหมายโดยประชาชน
โดยหลักการพื้นฐานในการทำาประชามติภาคบังคับนั้น จำาเป็นต้องยื่นขอแก้ไข
ผ่านเสียงข้างมากเพื่อขอทำาประชามติภาคบังคับ ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
หรือประเด็นระหว่างประเทศ เช่น การเข้าร่วม-ออกจากองค์การระหว่างประเทศ
เป็นต้น ทำาให้การลงคะแนนจำาเป็นต้องได้รับคะแนนเสียงจากทุกจังหวัดรวมกัน
เกินครึ่งหนึ่งของประชากรทุกจังหวัด ซึ่งสะท้อนว่าเสียงข้างมากของประชาชน
มีความสำาคัญในทุกการบังคับใช้นโยบายสาธารณะของรัฐ กระบวนการดังกล่าว
เรียกว่า “popular initiative” (การริเริ่มออกกฎหมายโดยประชาชน)