Page 25 - kpiebook65030
P. 25
24 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560
รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ
ควำมส�ำคัญของประชำมติและกำรต่อยอดจำกประเทศ
สวิตเซอร์แลนด์ โดย ศำสตรำจำรย์วุฒิสำร ตันไชย
ศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวถึง
ความสำาคัญของประชามติในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทั่วโลก เพื่อเสริมกับ
ความเป็นตัวแทนของประชาชนในการมีส่วนร่วมตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะ
ของรัฐตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ประชาธิปไตยทางตรงมีความสำาคัญ
อย่างยิ่งในการทำาให้เจตจำานงของประชาชนได้แสดงออกมาผ่านการทำาประชามติ
ขณะที่พัฒนาการประชาธิปไตยของไทยนั้นเน้นเป็นประชาธิปไตยเชิงหารือ
ตลอดจนมีการนำาเสนอประชาธิปไตยผ่านการทำาประชามติแก้รัฐธรรมนูญ
รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะจากประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบทาง
นโยบายอย่างทั่วถึงและครบถ้วน ดังนั้นแล้วบทเรียนที่จะได้รับจากงานสัมมนา
สาธารณะกรณีศึกษาประเทศสวิตเซอร์แลนด์จึงมีความสำาคัญในการพัฒนา
ต่อยอดประชาธิปไตยด้วยประสบการณ์อันมีค่าของประชาธิปไตยในสวิตเซอร์แลนด์
เพื่อหาทางออกให้แก่วิกฤตการเมืองในประเทศไทยต่อไป
ภูมิทัศน์กำรเมืองของระเทศสวิตเซอร์แลนด์
บริบททางการเมืองและ 3 เสาหลักของประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ลักษณะพิเศษทางการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่มีใครมีอำานาจโดยสมบูรณ์
ด้วยเหตุนี้ ประสบการณ์ทางการเมืองของสวิตเซอร์แลนด์จึงค่อนข้างยาก
จะคล้ายกับประเทศใดและยากที่จะลอกเลียนรูปแบบการปกครองไปใช้
ทั้งหมด ประกอบกับความหลากหลายของภาษาถึง 4 ภาษาหลัก โดยมีภาษา
สวิตเซอร์แลนด์-เยอรมันเป็นภาษาหลักอันดับหนึ่ง หรือความหลากหลายทาง
ศาสนา เป็นต้น โดยปัจจุบันถือว่าสิ่งที่เป็น 3 เสาหลักที่ส่งผลต่อเสถียรภาพ