Page 191 - kpiebook65024
P. 191
190 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ตัวบุคคล การเปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรี การให้นายกรัฐมนตรี
ตระหนักและเห็นความส�าคัญของเสียงสนับสนุนที่ท�าให้ได้รับเลือกตั้ง (แดนชัย
ไชวิเศษ, ม.ป.ป.) ดังนั้น การจ�ากัดระยะเวลาการด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงเป็น
ประโยชน์ต่อประชาธิปไตย
ทั้งนี้ เมื่อศึกษาถึงการเริ่มนับระยะเวลาการด�ารงต�าแหน่ง โดยวิเคราะห์กับ
กรณีของนายกรัฐมนตรีท่านปัจจุบัน (พ.ศ. 2565) การนับระยะเวลาปรากฏแนวทาง
ความคิดเห็นเป็น 3 ประการ (แดนชัย ไชวิเศษ, ม.ป.ป.) ได้แก่
ประการที่หนึ่ง นับตั้งแต่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ซึ่งเป็นวันที่มี
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
ประการที่สอง นับตั้งแต่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกาศใช้ และ
ประการที่สาม นับตั้งแต่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่มี
พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
นายกรัฐมนตรี
อย่างไรก็ตาม ได้มีการตีความกรณีดังกล่าวว่าให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2562
ซึ่งเป็นวันโปรดเกล้าฯ เป็นต้นไป เนื่องด้วยการก�าหนดเงื่อนไขให้นายกรัฐมนตรี
ด�ารงต�าแหน่งรวมแล้วเกิน 8 ปีไม่ได้นั้นเป็นเงื่อนไขการจ�ากัดสิทธิบุคคลที่จะด�ารง
ต�าแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงเป็นการบัญญัติกฎหมายในทางเป็นโทษจึงจะน�ามาบังคับใช้
ย้อนหลังในทางที่เป็นโทษไม่ได้ โดยการก�าหนดเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญให้ผลย้อนหลัง