Page 194 - kpiebook65024
P. 194
193
เมื่อวิเคราะห์กับหลักการของการท�าประชามติ การออกเสียงประชามติถือว่า
เป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการประชาธิปไตยทางตรงที่แสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วม
ในทางการเมืองของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย การออกเสียงประชามติ
จึงเป็นกระบวนการที่เข้ามาเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทน
เป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิออกเสียงต่อกิจการหรืองานใด ๆ ที่ตัวแทน
ซึ่งได้รับเลือกเข้าไปบริหารประเทศได้กระท�าลงไป (สิริพรรณ นกสวน, 2555)
ดังนั้น หากมีกรอบของการใช้ดุลพินิจตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 165 ที่มีการก�าหนดให้ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า
กิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน
ในทัศนะของผู้เขียนจะเป็นการผสมผสานระหว่างกฎ (rule) และดุลพินิจ (discretion)
ท�าให้เกิดหน้าที่โดยปริยายที่การบริหารประเทศชาติต้องฟังเสียงประชาชนมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยในปัจจุบันส่งผลให้ต้นทุนการท�าประชาพิจารณ์
ไม่สูงมากนัก การท�าประชาพิจารณ์จึงย่อมส่งเสริมระบอบประชาธิปไตยโดยใช้
งบประมาณภาครัฐไม่มาก ดังนั้น รัฐธรรมนูญในอนาคตจึงพึงมีการแก้ไขเพิ่มเติม
บทบัญญัติเพื่อก�าหนดกรอบดุลพินิจของคณะรัฐมนตรีในการท�าประชาพิจารณ์เพื่อ
สนับสนุนสิทธิและเสียงของประชาชนตรมหลักประชาธิปไตยได้ดียิ่งขึ้น