Page 193 - kpiebook65024
P. 193
192 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
เมื่อวิเคราะห์กับหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยซึ่งประชาชนมีอ�านาจสูงสุด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อน ๆ รัฐมนตรีจะพ้นจากต�าแหน่งได้ด้วย
การกระท�าความผิดต่อกฎหมายซึ่งกฎหมายตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ย่อมถือว่ามีที่มาจากประชาชน หากแต่เมื่อมีการก�าหนดให้พ้นจากหน้าที่รัฐมนตรี
โดยอาศัยเหตุความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์และไม่มีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน
หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงนี้มาใช้บังคับแล้ว การพ้นจาก
ต�าแหน่งย่อมเป็นการถูกตัดสินได้ตามดุลพินิจของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อาจไม่ได้
มาจากประชาชนเป็นผู้มีส่วนร่วมในตัดสินซึ่งย่อมขัดต่อหลักการปกครองตามระบอบ
ประชาธิปไตยจึงย่อมเป็นข้อจ�ากัดของการก�าหนดให้มีการตัดสินให้พ้นจากต�าแหน่ง
โดยมาตรฐานจริยธรรมดังกล่าว ดังนั้น รัฐธรรมนูญในอนาคตจึงพึงมีการวิเคราะห์
ประเด็นมาตรฐานจริยธรรมอย่างลึกซึ้งผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนที่จะท�าให้
การก�าหนดหรือการตัดสินพึงมาจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับ
ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น
5.3 การเสนอให้มีการออกเสียงประชามติ
ของคณะรัฐมนตรี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 มาตรา 9 โดยให้คณะกรรมการมีหน้าที่และ
อ�านาจจัดและควบคุมดูแลการออกเสียงให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม เสรี เสมอภาค
และชอบด้วยกฎหมายได้ ในกรณีเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควร จากบทบัญญัติดังกล่าว
วิเคราะห์ได้ว่า เป็นดุลพินิจของคณะรัฐมนตรีในการให้ประชาชนมีการออกเสียงประชามติ
ท�าให้มีความไม่ชัดเจนและการตัดสินใจจึงขึ้นอยู่กับฝ่ายบริหารเท่านั้น