Page 187 - kpiebook65024
P. 187
186 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
4.3 การออกเสียงประชามติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 166 ก�าหนด
ให้ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร คณะรัฐมนตรีจะขอให้มีการออกเสียงประชามติในเรื่องใด
อันมิใช่เรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคลใดก็ได้
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายส�าคัญที่เกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีการก�าหนดไว้ในมาตรา 9 โดยให้
คณะกรรมการมีหน้าที่และอ�านาจจัดและควบคุมดูแลการออกเสียงให้เป็นไปโดยสุจริต
เที่ยงธรรม เสรี เสมอภาค และชอบด้วยกฎหมายได้ ในกรณีเมื่อคณะรัฐมนตรี
เห็นสมควรได้ (มาตรา 9(2)) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 165 จะมีการก�าหนดขอบเขตในกรณีที่คณะรัฐมนตรี
เห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน
นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธานสภาผู้แทนราษฎร
และประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
จะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะรัฐมนตรี
สามารถด�าเนินการให้ประชาชนออกเสียงประชามติได้ เมื่อเห็นสมควร ซึ่งเป็นดุลพินิจ
ของคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม การออกเสียงประชามติซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการ
ที่ส�าคัญของระบอบประชาธิปไตย (สิริพรรณ นกสวน, 2555) หากมีการก�าหนดให้
ชัดเจนหรือเป็นหน้าที่ให้คณะรัฐมนตรีต้องแสวงหาเสียงประชามติในเรื่องใดบ้าง
ที่เป็นเรื่องส�าคัญต่อประเทศชาติหรือประชาชนก็จะท�าให้ประชาธิปไตยในลักษณะ
ของการท�าประชามติเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น