Page 183 - kpiebook65024
P. 183
182 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
3. หลักการถ่วงดุลอ�านาจ: การตรวจสอบการใช้อ�านาจ
ของคณะรัฐมนตรี
ดังที่กล่าวว่า การใช้อ�านาจของคณะรัฐมนตรีเป็นหนึ่งในการใช้อ�านาจอธิปไตย
โดยมีหัวใจส�าคัญ คือ คณะรัฐมนตรีต้องใช้อ�านาจตามกรอบที่กฎหมายก�าหนด
นอกจากนี้ ยังมีการถ่วงดุลอ�านาจผ่านกระบวนการต่าง ๆ อาทิการถ่วงดุลโดยรัฐสภา
เช่น การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาที่มีสาระส�าคัญให้คณะรัฐมนตรี
ด�าเนินการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายใน 15 วันนับแต่วันที่เข้ารับหน้าที่ การตั้ง
14
กระทู้ถาม กล่าวคือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภามีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
รัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ โดยจะถามเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้
15
การอนุมัติพระราชก�าหนดโดยรัฐสภา เมื่อพระราชก�าหนดประกาศใช้บังคับแล้ว
16
คณะรัฐมนตรีจะต้องเสนอพระราชก�าหนดต่อรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาว่าจะอนุมัติ
พระราชก�าหนดนั้นให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไปหรือไม่ การควบคุมการใช้จ่าย
17
งบประมาณแผ่นดิน โดยรัฐธรรมนูญก�าหนดให้การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระท�าได้เฉพาะที่
ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
หรือกฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ กฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง หรือกฎหมาย
14 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 162
15 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 150
16 พระราชก�าหนด คือ กฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยค�าแนะน�าของคณะรัฐมนตรี
เมื่อมีความจ�าเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัย
สาธารณะ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือป้องกันภัยพิบัติสาธารณะ โดยพระราชก�าหนดมีล�าดับศักดิ์
เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติ
17 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, มาตรา 172