Page 182 - kpiebook65024
P. 182

181




           ถ้าหากอ�านาจทั้งสามฝ่าย คือ อ�านาจนิติบัญญัติ อ�านาจบริหาร และอ�านาจตัดสิน
           ไม่แยกออกจากกัน เพื่อให้เกิดการต้านถ่วงดุลระหว่างกัน แต่ไปรวมอยู่ที่คนคนเดียว

           หรือองค์กรเดียวกัน” (ถาวร เกียรติทับทิว, 2546) ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงมีความส�าคัญ
           ในฐานะเป็นผู้มีบทบาทในการบริหารราชการแผ่นดินในส่วนของอ�านาจบริหาร

           ตามหลักการแบ่งแยกอ�านาจนั่นเอง





           2. ที่มาจากประชาชน: องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี


                  ตามหลักการแบ่งแยกอ�านาจดังกล่าวน�ามาสู่อ�านาจบริหารหรือสถาบันบริหาร
           ซึ่งหมายถึง บุคคล คณะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่น�านโยบาย และน�ากฎหมาย

           ที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาแล้วไปด�าเนินการหรือปฏิบัติ ทั้งในด้านปกครอง

           หรือบริหารประเทศ โดยแบ่งเป็นกระทรวง กรมต่าง ๆ รวมทั้งด้านการทหาร และ
           ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการบริหารผ่านคณะรัฐมนตรีมีองค์ประกอบ
           ของคณะรัฐมนตรีปรากฏตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

           มาตรา 158 วรรคหนึ่ง “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่น

           อีกไม่เกินสามสิบห้าคน ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรี มีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน
           ตามหลักความรับผิดชอบร่วมกัน” เมื่อพิจารณาในส่วนของนายกรัฐมนตรี
           นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบร่วมกัน ดังนั้น

           องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี ได้แก่ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน

           ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากบุคคลที่ประชาชนเลือกให้ความเห็นชอบ ฉะนั้น
           ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยการด�ารงต�าแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
           จึงเป็นบุคคลที่เสมือนหนึ่งได้รับการคัดเลือกจากประชาชนในทางอ้อมนั่นเอง
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187