Page 181 - kpiebook65024
P. 181

180   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        ความลับนี้ไว้ได้ ต่อมาจึงมีการหาที่ประชุมที่สามารถเก็บความลับได้ท�าให้เกิด
        การประชุมในตู้ส�าหรับเก็บฉลองพระองค์ที่สามารถเก็บชุดได้ประมาณ 500 ชุด

        ดังนั้น ต่อมาเวลาเชิญคณะรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมจึงท�าหนังสือเชิญว่าขอเชิญเข้าร่วม
        Cabinet ท�าให้ความลับของการประชุมไม่มีการรั่วไหล และเมื่อประชุมแล้วเสร็จ

        โฆษกจึงจะออกมาแถลงว่ามีประเด็นและมติว่าอย่างไร อันเป็นที่มาของค�าว่า Cabinet
        ซึ่งแปลว่า คณะรัฐมนตรี (วิษณุ เครืองาม ใน ส�านักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี, 2554)

        ส�าหรับประเทศไทยนั้น คณะรัฐมนตรีไทยนั้นมีขึ้นครั้งแรกหลังจากการเปลี่ยนแปลง
        การปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน

        สยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งในขณะนั้นเรียกว่าคณะกรรมการราษฎร และ
        หลังจากมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช พ.ศ. 2475

        จึงเปลี่ยนมาเรียกว่า “คณะรัฐมนตรี”


                คณะรัฐมนตรีมีอ�านาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นอ�านาจ
        หน้าที่ที่มาจากส่วนหนึ่งของอ�านาจสูงสุดในการปกครองประเทศ กล่าวคือ อ�านาจ
        อธิปไตย อ�านาจอธิปไตยนั้นเป็นองค์ประกอบที่ส�าคัญของการปกครองของรัฐที่มีอิสระ

        เสรีภาพ และมีความเป็นเอกราช มีอ�านาจในการบริหารราชการทั้งกิจการภายในและ

        นอกประเทศ โดยอ�านาจอธิปไตยทั่วไปนั้นแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ อ�านาจนิติบัญญัติ

        อ�านาจบริหาร และอ�านาจตุลาการ ซึ่งหลักการการแบ่งอ�านาจอธิปไตยดังกล่าว
        ได้มีการรับรองในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับ รวมถึงรัฐธรรมนูญ

        แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตรา 3 ที่ว่า “อ�านาจอธิปไตยเป็นของ

        ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อ�านาจนั้นทางรัฐสภา
        คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” อันเป็นการสอดคล้องกับ
        แนวคิดของนักคิดคนส�าคัญ คือ มองเตสกิเออที่ได้เขียนไว้ในหนังสือ “เจตนารมณ์

        แห่งกฎหมาย” (The Spirit of Law) ความว่า “อิสรภาพย่อมไม่อาจด�ารงอยู่ได้
   176   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186