Page 34 - kpiebook65019
P. 34

33



           ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บ�ารุงรักษา
           และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามหลักการ การพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุม

           และก�าจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อ สุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของ
           ประชาชน” อีกด้วย


                   กล่าวโดยสรุปจะเห็นได้ว่า สิทธิชุมชนภายใต้การสถาปนาโดยรัฐธรรมนูญ
           แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญได้ก�าหนดสถานะของชุมชน

           รับรองสิทธิของชุมชน ก�าหนดกรอบและขอบเขตของเนื้อหาแห่งสิทธิโดยครอบคลุม
           สิทธิในกำรอนุรักษ์ การฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรม

           อันดีของท้องถิ่นและของชาติ และสิทธิในกำรมีส่วนร่วมในการจัดการ การบ�ารุงรักษา
           และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

           อีกทั้งยังก�าหนดให้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และจัดโครงสร้างความสัมพันธ์
           เชิงอ�านาจในเชิงสิทธิ-หน้าที่ระหว่าง รัฐ ชุมชน และประชาชนเพิ่มเติมขึ้นจากเดิม


                   ส�าหรับสิทธิชุมชนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2550
           จุดเด่นคือมีการบัญญัติให้ “สิทธิชุมชน” โดดเด่นขึ้นโดยก�าหนดไว้เป็น “ส่วนหนึ่ง”

           ในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ ซึ่งจัดเป็นส่วนเฉพาะในหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ

           ว่าด้วย “สิทธิชุมชน” ในหมวด3 ส่วนที่ 12 ประกอบกับการจัดท�ารัฐธรรมนูญแห่ง
           ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นการจัดท�าโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุ
           ดังนั้นจึงท�าให้เนื้อหาของสิทธิชุมชนที่เกิดขึ้นจากกระบวนจัดท�ารัฐธรรมนูญโดย

           สภาร่างรัฐธรรมนูญจึงมีเนื้อหาขอบเขตและกลไกสนับสนุนในการให้การคุ้มครอง

           สิทธิชุมชนที่เป็นการแก้ไขข้อจ�ากัดของเนื้อหาสิทธิชุมชนเดิม และมีการปรับปรุง
           กลไกในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนที่มีข้อจ�ากัดต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่ง
           ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ใหม่ ส่งผลให้กระบวนการสถาปนาของรัฐธรรมนูญ

           แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มีการรับรองและขยายขอบเขตของ
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39