Page 38 - kpiebook65019
P. 38
37
อันเป็นที่มาของการท�าให้การจัดท�ากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนเกิดข้อถกเถียง
เกี่ยวกับค�านิยามศัพท์ตามกฎหมายที่ไม่สามารถสร้างความหมายที่ชัดเจนได้ ทั้งนี้
เนื่องจากบทบัญญัติตามมาตรา 46 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 ซึ่งมีค�าบัญญัติลงท้ายว่าทั้งนี้ตามที่กฎหมายก�าหนด จึงท�าให้การใช้สิทธิตาม
รัฐธรรมนูญที่รับรองสิทธิชุมชนจะต้องไปบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นมาก่อน จนน�าไปสู่
ความพยายามที่จะผลักดันเป็นพระราชบัญญัติสิทธิชุมชนในฉบับร่างต่าง ๆ
ส�าหรับประเด็นที่เป็นข้อโต้เถียงที่เกี่ยวข้องกับ “แนวสิทธิชุมชน” มีอยู่
หลายมิติ อาทิเช่น มิติในทางวิชาการ ประเด็นสาระส�าคัญของข้อโต้เถียงคือ
1. ชุมชนมีอยู่จริงหรือไม่ หรือมีเฉพาะแต่ความเป็นปัจเจกเท่านั้น
2. ความเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม เป็นวาทกรรม
ที่ถูกสร้างขึ้นมามากกว่าที่จะมีชุมชนที่เป็นดังวาทกรรม
3. ความพยายามสร้างภาพหรือค�าอธิบายที่เกี่ยวกับชุมชน จะเป็น
การแช่แข็งประชาชนที่ถูกนิยามให้อยู่ในความหมายหรือภาพของ
ความเป็นชุมชนมากกว่า
4. จะนิยามค�าว่าสิทธิชุมชนให้มีสถานะในทางกฎหมายได้อย่างไร
5. ใครเป็นผู้ทรงสิทธิชุมชน
6. วัตถุแห่งสิทธิของสิทธิชุมชนคืออะไร ครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง
7. ขอบเขตของสิทธิชุมชนครอบคลุมถึงเรื่องอะไรบ้าง
8. กลไกการบังคับการให้สมดังสิทธิของสิทธิชุมชนต้องด�าเนินการ
อย่างไร ฯลฯ