Page 40 - kpiebook65019
P. 40
39
ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรแบบ exclusive ที่กีดกันการมีส่วนร่วมออกไปและ
ไม่สามารถที่จะใช้อ�านาจตามกฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพได้เพราะข้อจ�ากัดต่าง ๆ
ของระบบราชการ ท�าให้ต้องปะทะกันกับแนวคิดเรื่องสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ
จนน�าไปสู่การใช้อ�านาจตามกฎหมายเดิม (ที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ) ในการด�าเนินคดีกับ
ชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่เป็นชนเผ่า หรือเป็นชุมชนที่ชาติพันธุ์ในพื้นที่สูง
ที่อยู่ในพื้นที่ป่ามาก่อนมีรัฐไทย ซึ่งการต่อสู้คดีที่เกี่ยวกับสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ
ก็มีเพิ่มขึ้นเป็นจ�านวนมาก ทั้งในศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ และ
ในระหว่างการด�าเนินกระบวนการพิจารณาก็สะท้อนให้เห็นถึงข้อจ�ากัด หรือ การขาด
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความยุติธรรม และสิทธิชุมชนของหลาย ๆ ฝ่าย จวบจน
กระทั่งมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่มีการจัดท�าขึ้นใหม่
และได้ตัดข้อความ “ทั้งนี้ ตำมที่กฎหมำยก�ำหนด” ออกไป จึงท�าให้ศาลเริ่มให้
การรับรองความมีอยู่ของสิทธิชุมชน แต่ก็ยังมีอุปสรรคต่าง ๆ อีกมากมายที่ยัง
ไม่สามารถที่จะท�าให้ประชาชนสมดังสิทธิได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ด้วยเหตุของปัญหา
ต่าง ๆ ของระบบราชการรวมตลอดถึงฐานคิด (Mindset) ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่ไม่ยอมรับความมีอยู่ของชุมชนในทางกฎหมาย (แม้ในทางความเป็นจริงจะให้
การยอมรับก็ตาม) ทั้งนี้เนื่องจากการไม่มีระเบียบมาให้เจ้าหน้าที่ด�าเนินการ หรือ
ด้วยความไม่เข้าใจในขอบเขตและเนื้อหาของสิทธิชุมชน การตัดข้อความ “ทั้งนี้
ตามที่กฎหมายก�าหนด” ออกไปจากบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพ
ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และการที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ได้พิพากษาในคดี 3/2552 ซึ่งเป็นการวางหลักการที่ส�าคัญในการให้การคุ้มครองสิทธิ
ในทันทีรัฐจะอ้างว่ายังไม่มีกฎหมายไม่ได้ แต่ในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
14
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 43 มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ค�า
14 รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560