Page 39 - kpiebook65019
P. 39
38 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
แต่อย่างไรก็ตามในขณะที่การถกเถียงเกี่ยวกับแนวคิด ความชัดเจน เพื่อจัดท�า
ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิชุมชน ในทางการเคลื่อนไหวในทางสังคมบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญยังได้วางกลไกในทางกฎหมายและในทางการบริหารที่ท�าให้การใช้
สิทธิชุมชนผ่านทางการใช้อ�านาจขององค์กรของรัฐเอาไว้ด้วย ดังเช่น การก�าหนดให้
เป็นหน้าที่ของรัฐก็ดี การก�าหนดบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีหน้าที่
โดยตรงในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของสิทธิชุมชน ดังเช่นที่ปรากฏในบทบัญญัติ
ในหมวดที่ว่าด้วยการกระจายอ�านาจ (ดังที่ปรากฏในบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
ฉบับต่าง ๆ ที่บัญญัติในลักษณะของการจัดกลไกที่เชื่อมโยงสิทธิชุมชน หน้าที่ของรัฐ
และการขยายขอบเขตและบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเชิงอรรถที่ 7, 8
และ 9) ซึ่งท�าให้เกิดโครงการ กิจกรรมต่าง ๆ มากมายที่ใช้ฐานคิดในทางกฎหมายที่
ว่าด้วยสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญที่ส่งผลในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รวมถึงการใช้ประโยชน์
อย่างยั่งยืนจากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ มีการฟื้นฟู
อนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปะประเพณีมากมายในท้องถิ่นต่าง ๆ หลากหลายพื้นที่ และมี
ในหลาย ๆ พื้นที่ที่ชุมชนใช้ส�านึกของความเป็นชุมชนท้องถิ่น รวมถึงชุมชนท้องถิ่น
ดั้งเดิม ที่ฟื้นฟูภูมิปัญหาท้องถิ่นที่มีมาแต่เดิมผนวกกับการสนับสนุนของหน่วยงานของรัฐ
และสถาบันวิชาการ ในบางพื้นที่มีกลไกในกระบวนการยุติธรรมเข้ามาด�าเนินการร่วม
ภายใต้การด�าเนินการโครงการยุติธรรมชุมชน หรือ ยุติธรรมทางเลือก ซึ่งเป็นกรณีของ
การท�าให้ความหมายของค�าว่า “สิทธิชุมชน” เกิดการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ
ความต้องการของชุมชน
แต่ในขณะที่มีการเคลื่อนไหวในทางสังคมในแง่ของการน�าแนวคิดเรื่อง
สิทธิชุมชนมาสร้างกลไกในการพัฒนาพื้นที่หรือเสริมสร้างความรู้ความสามารถ และ
การสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในหลาย ๆ พื้นที่ ในอีกด้านของกลไกรัฐที่ยังคงอยู่
ในกรอบคิดแบบอ�านาจรัฐรวมศูนย์ซึ่งเกิดการปะทะกันระหว่างความคิดของกฎหมาย