Page 32 - kpiebook65019
P. 32
31
สิทธิชุมชน โดยรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2540 ด�ำเนินโดย
1. กำรรับรองสถำนะให้กับ “ควำมเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม” ให้เป็นผู้ทรงสิทธิ
(Subject of Right) ในทำงกฎหมำยได้ และ 2. กำรก�ำหนดขอบเขตของสิทธิชุมชน
ว่ำมีปริมณฑลและขอบเขตเนื้อหำของสิทธิชุมชนครอบคลุมในด้ำนใดบ้ำง
และนอกจากนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ยังสร้างกลไกที่ท�าให้กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน
ซึ่งเป็นกระบวนการเสริมสร้างให้ สิทธิชุมชน และขบวนการภาคประชาชนเข้ามา
มีส่วนร่วมกับภาครัฐภายใต้สิทธิในสิ่งแวดล้อม (ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิที่ถูกสถาปนาขึ้นมาใหม่
โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เช่นเดียวกันกับสิทธิชุมชน)
การพัฒนากลไกเพื่อส่งเสริมการใช้สิทธิชุมชน (และสิทธิในสิ่งแวดล้อม) ไว้ในระดับ
ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีนัยทั้งในทางกฎหมายและในทางการเมือง กล่าวคือ เท่ากับ
เป็นการท�าให้ภาครัฐยอมรับความเป็นผู้ทรงสิทธิของชุมชน ดังปรากฎในมาตรา 56
9
9 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
มาตรา 56 สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบ�ารุงรักษา และการได้
ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด�ารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะ
ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ย่อมได้รับความคุ้มครอง
ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
การด�าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
จะกระท�ามิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้
องค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษา
ที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการด�าเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่
กฎหมายบัญญัติ
สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น
หรือองค์กรอื่นของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
ย่อมได้รับความคุ้มครอง