Page 31 - kpiebook65019
P. 31
30 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
สิทธิชุมชน ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม
และประเด็นสาธารณะอื่น ๆ ถูกให้ความส�าคัญและได้รับการรับรองและสถาปนา
ให้ความเป็นชุมชนมีสิทธิและมีสถานะเป็น “สิทธิชุมชน” อยู่ในหมวด “สิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน” จึงส่งผลให้ “สิทธิชุมชน” มีสถานะในทางกฎหมาย (de juris)
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
แต่อย่างไรก็ดี แม้ “ความเป็นชุมชน” จะมีสถานะในทางกฎหมายตามที่
รัฐธรรมนูญรับรองให้มี “สิทธิชุมชน” แต่ขอบเขตของสิทธิชุมชนในทางกฎหมาย
(de juris) และขอบเขตการใช้อ�านาจของชุมชนตามความเป็นจริง (de facto) ไม่ได้
ซ้อนทับเป็นเนื้อเดียวกัน จากงานศึกษาบทบาทของชุมชนในทางด้านประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในพื้นที่ต่าง ๆ ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ความขัดแย้ง รวมตลอดถึงงานศึกษาทางโบราณคดี
งานในทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พบว่า ชุมชนมีบทบาทในการจัดการเรื่องภายใน
ชุมชนของตนในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นปัญหาที่
ส่งผลกระทบต่อความเป็นชุมชน
มาตรา 46 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ซึ่งบัญญัติว่า “บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์
หรือฟื้นฟูจำรีตประเพณี ภูมิปัญญำท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
และของชำติ และมีส่วนร่วมในกำรจัดกำร กำรบ�ำรุงรักษำ และกำรใช้ประโยชน์
จำกทรัพยำกรธรรมชำติและสิ่งแวดล้อมอย่ำงสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตำมที่
กฎหมำยบัญญัติ” บทบัญญัติในมาตรานี้เป็นบทบัญญัติที่สถาปนาสิทธิชุมชนขึ้น
ในระบบกฎหมาย จัดโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอ�านาจขึ้นใหม่โดยการก่อตั้งให้
“ความเป็นชุมชน” มีสถานะและที่ทางในทางการเมืองการปกครอง และเป็นการยืนยัน
“ความเป็นชุมชน” ในความเป็นจริงทางสังคมให้ระบบรัฐราชการและภาคส่วนต่าง ๆ ใน
สังคมให้การเคารพและยอมรับความเป็นชุมชน กระบวนกำรสถำปนำ (Establishment)