Page 98 - kpiebook65015
P. 98

97



                  จากที่ได้พิจารณาไปแล้วทีละระบบ ผู้วิจัยจะได้น�าทุกระบบมาเปรียบเทียบกัน
           โดยน�า (1) ระบบเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็น

           “ระบบคู่ขนาน” ที่ใช้ก่อนการยึดอ�านาจในปี พ.ศ. 2557 และขณะนี้ได้กลับมาใช้อีกครั้ง

           มาเปรียบเทียบกับ (2) ระบบเลือกตั้งของร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นระบบ
           MMP และ (3) ระบบเลือกตั้งของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งผู้ร่างเรียกว่า MMA
           โดยใช้คะแนนเสียงของการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 มาค�านวณ ทั้งนี้โดยระบบ MMP

           จะใช้คะแนนเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมาก�าหนดจ�านวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคจะได้

           ส่วนระบบ MMA จะใช้คะแนนเสียงแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมาก�าหนดจ�านวน ส.ส.
           ที่แต่ละพรรคจะได้ ซึ่งผลที่ได้เป็นไปตามตารางที่ 12 ข้างล่างนี้


                  หากถือว่าความเป็นจริงคือคะแนนเสียงจริง ๆ จากประชาชน เราจะเห็นได้ว่า
           ระบบคู่ขนาน (1) ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งเดิมของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม
           พ.ศ. 2554 นั้น พรรคใหญ่ที่สุดคือพรรคเพื่อไทยได้ ส.ส. มากกว่าความเป็นจริง

           ขณะที่พรรคอื่นที่เหลือได้ ส.ส. น้อยกว่าความเป็นจริง (ตาราง 12 จ�านวน ส.ส.(1)) ซึ่ง

           ผลก็คือรัฐบาลเข้มแข็งกว่าความเป็นจริง ขณะที่ฝ่ายค้านจะอ่อนแอกว่าความเป็นจริง

                  ส่วนระบบเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นระบบ MMA (3) นั้น

           พรรคที่ใหญ่ที่สุดคือพรรคเพื่อไทยได้จ�านวน ส.ส. (หรือที่เรียกว่า “จ�านวน ส.ส. พึงมี”)
           ตามคะแนนเสียงแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง แต่ได้จ�านวน ส.ส. น้อยกว่าคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ

           ซึ่งเป็นคะแนนที่สะท้อนความนิยมจริง ๆ จากประชาชน จึงกล่าวได้ว่าระบบเลือกตั้งนี้
           พรรคใหญ่ที่สุดจะได้ ส.ส. น้อยกว่าความเป็นจริง ขณะที่พรรคขนาดกลาง ได้แก่ พรรค

           ภูมิใจไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา ได้จ�านวน ส.ส. มากกว่าคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ
           หรือมากกว่าคะแนนนิยมจริง ๆ ของประชาชนที่มีต่อพรรค ส่วนพรรคอันดับสองคือ

           พรรคประชาธิปัตย์ได้ผลไม่แตกต่างกัน (ตาราง 12 จ�านวน ส.ส.(3))
   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103