Page 93 - kpiebook65015
P. 93
92 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
71
proportional representation คือผู้เลือกตั้งสามารถเลือก ส.ส.แบบแบ่งเขต
ในเขตเลือกตั้งของตนให้เข้าไปอยู่ในสัดส่วนจ�านวน ส.ส.ของแต่ละพรรคได้ โดยคะแนน
ในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ หรือคะแนนที่เลือกพรรค จะก�าหนดยอดรวมว่า
แต่ละพรรคจะได้ ส.ส.ในสภาผู้แทนราษฎรเป็นจ�านวนเท่าใด แล้วดูว่าได้ ส.ส.แบบ
แบ่งเขตเลือกตั้งไปแล้วกี่คน ขาดอยู่เท่าใด ก็น�าเอาผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อมาเติมให้
ครบจ�านวนนั้น ระบบเลือกตั้งแบบ MMP จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Additional Member
System หรือระบบเลือกตั้งแบบใช้ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อเติมให้ครบตามสัดส่วน
72
คะแนนที่ได้จากประชาชน
เพื่อให้เข้าใจว่าระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม กับระบบคู่ขนาน ให้ผล
การเลือกตั้งที่แตกต่างกันอย่างไร ผู้วิจัยจะขอน�าเอาคะแนนเสียงเลือกตั้ง 3 ครั้ง
ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 คือการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 การเลือกตั้งปี
พ.ศ. 2550 และการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 มาใส่ในระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม
ว่าง่าย ๆ คือ ผลการเลือกตั้ง 3 ครั้งของพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์
น�ามาใช้ โปรดดูเว็บไซต์ของสภาผู้แทนราษฎรของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี https://www.
bundestag.de ดังนั้น เราต้องเข้าใจว่าที่เรียกกัน ว่า “ระบบเยอรมัน” จริง ๆ แล้วจึงหมายถึง
หลักการใหญ่ ๆ ดังที่ได้กล่าวไปเท่านั้น
71 ดูเว็บไซต์ของ Federal Ministry of Interior, Building and Community หัวข้อ The
Voting System https://www.bmi.bund.de/EN/topics/constitution/electoral-law/
voting-system/voting-system-node.html; Political consequences of Germany’s
mixed-member System: Personalization at the grass-roots?, Klingemann, Hans-Dieter;
Wessels, Bernhard https://www.econstor.eu/bitstream/10419/48997/1/311685250.pd
72 ดู Electoral Reform Society https://www.electoral-reform.org.uk/voting-systems/
types-of-voting-system/additional-member-system/; Oxford Reference https://www.
oxfordreference.com/view/10.1093/oi/authority.20110803095350728