Page 90 - kpiebook65015
P. 90
89
ดูตาราง 4 และ 5) จนกระทั่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ได้เปลี่ยนมาใช้ ระบบจัดสรร
ปันส่วนผสม คือมี ส.ส. ทั้งแบบแบ่งเขต และแบบบัญชีรายชื่อ แต่มีบัตรเลือกตั้งเฉพาะ
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ซึ่งเกิดปัญหาหลายประการดังที่ได้กล่าวไปในบทที่ 3 จนต้อง
มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 กลับมาหา ระบบคู่ขนำน ของรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 อีกครั้ง ซึ่งก็จะกลับไปหาปัญหาที่เคยเกิดมาแล้วอีกครั้งด้วย ดังที่ได้กล่าว
ไปแล้วในบทที่ผ่านมา
ระบบเลือกตั้งที่ประเทศไทยเคยใช้ในการเลือกตั้ง 24 ครั้งที่ผ่านมา ทั้งระบบ
66
เลือกตั้งเสียงข้างมากธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นระบบเขตละคน หรือเขตละหลายคน
67
และระบบคู่ขนานซึ่งจะใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ต่างก็มีปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในเรื่องการไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน และปัญหาอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวมา
ผู้วิจัยจึงขอเสนอระบบเลือกตั้ง 2 ระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากกว่า คือ
สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชนได้มากกว่า โดยที่ไม่ยากหรือยุ่งยากเกินไป
ในการจัดการเลือกตั้ง คือ หนึ่ง ระบบสัดส่วนผสม (Mixed-Member Proportion –
MMP) แบบประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ สอง ระบบเสียงข้ำงมำกเด็ดขำด
แบบประเทศออสเตรเลีย หรือประเทศฝรั่งเศส โดยมีรายละเดียดดังต่อไปนี้
66 ผู้วิจัยไม่แนะน�าระบบเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากเขตละหลายคน ไม่ว่าจะเป็น Single
Transferable Vote, Party Block Vote หรือ Block Vote เนื่องจากประเทศไทยใช้จังหวัดเป็นฐาน
ในการแบ่งเขต ซึ่งแต่ละจังหวัดมีประชากรแตกต่างกัน ท�าให้มีจ�านวน ส.ส. แตกต่างกัน และจะเกิด
ปัญหาเรื่องความเสมอภาคของผู้เลือกตั้ง อีกทั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละหลายคนล้วนแต่มี
ข้อเสียมากเกินไปทั้งสิ้น ระบบเสียงข้างมากที่ดีที่สุดคือแบ่งให้เป็นเขตละคน แต่ระบบเสียงข้างมาก
ธรรมดาเขตละคนก็มีปัญหาดังที่ได้กล่าวไป
67 บทความวิจัยนี้เขียนเสร็จวันที่ 1 มีนาคม 2565 ซึ่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้ง ส.ส.ยังอยู่ระหว่างการแก้ไข