Page 85 - kpiebook65015
P. 85
84 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
กล่าวคือจะได้ ส.ส.มากกว่าคะแนนเสียง ส่วนพรรคอื่นที่เหลือจะได้ ส.ส.น้อยกว่า
คะแนนเสียงทั้งหมด โดยพรรคยิ่งเล็กยิ่งเสียเปรียบคือยิ่งได้ ส.ส.น้อยกว่าคะแนนเสียง
และโดยที่ ส.ส. ในการเลือกตั้งระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละคน มีจ�านวนถึง
400 คน หรือ 80 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ปัญหาที่เคยเกิดในการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 และตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2554 จะกลับมาอีกครั้ง
(ดูหัวข้อ 2.4) ซึ่งก็คือปัญหาในเรื่องผลเลือกตั้งที่ไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของประชาชน
และเกิดปัญหาพรรครัฐบาลเข้มแข็งเกินจริง ขณะที่ฝ่ายค้านอ่อนแอกว่าความเป็นจริง
ประกำรที่สำม แม้ว่าในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อ พรรคขนาดเล็ก
จะมีโอกาสได้ ส.ส. เนื่องจากคะแนนจะน�ามารวมกันทั้งประเทศ แต่มี ส.ส.
แบบบัญชีรายชื่อเพียง 100 คน หรือ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น พรรคเล็กจึงจะมีโอกาส
เข้าสภาได้น้อยลง เมื่อเทียบกับระบบ “บัตรหนึ่งใบ” ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560
อย่างไรก็ตามเนื่องจากไม่มีด่านขั้นต�่าในการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ท�าให้พรรคเล็ก
จึงยังพอมีโอกาสได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งผู้วิจัยคาดคะเนว่าอาจจะมีพรรคที่ได้
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อถึง 10 พรรค ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบกับการเลือกตั้ง 3 กรกฎาคม
2554 ที่เป็นระบบเลือกตั้งแบบเดียวกัน และไม่มีด่านขั้นต�่าเหมือนกัน แต่มี ส.ส.
บัญชีรายชื่อมากกว่าคือมี 125 คน ผลการเลือกตั้งในขณะนั้นคือมี 11 พรรค ที่ได้
ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
ทั้งนี้ เรื่องวิธีการค�านวณ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ รัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
พ.ศ. 2564 ก�าหนดให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การเลือกตั้ง ส.ส. โดยบัญญัติไว้ที่มาตรา 91 วรรคสองว่า “หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
การออกเสียงลงคะแนน การนับคะแนน การรวมคะแนน การประกาศผลการเลือกตั้ง