Page 89 - kpiebook65015
P. 89

88   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
          การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร


        ที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน และเพื่อให้ระบบเลือกตั้งมีความยืดหยุ่นและปรับแก้ไข
        ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ได้ จึงไม่ควรก�าหนดระบบเลือกตั้งไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ให้ก�าหนดไว้

        ในกฎหมายเลือกตั้ง ดังเช่นประเทศเยอรมันได้ก�าหนดระบบเลือกตั้งไว้ในกฎหมาย
        เลือกตั้งสหพันธ์ ท�าให้สภาของเยอรมันสามารถปรับปรุงแก้ไขข้อเสียของระบบเลือกตั้ง

                        64
        ได้โดยไม่ยากเกินไป

               ส�าหรับประเทศไทยนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2492 เป็นต้นมาได้ก�าหนด
        ระบบเลือกตั้งเอาไว้ในรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด ท�าให้ปรับปรุงแก้ไขระบบเลือกตั้ง
        ได้ยาก ทั้งยังเกิดปัญหาความซ�้าซ้อนที่ต้องบัญญัติและแก้ไขในกฎหมายเลือกตั้งอีก

        โดยในเรื่องระบบเลือกตั้งของประเทศไทยนั้นกล่าวโดยสรุปได้ว่า ก่อนหน้ารัฐธรรมนูญ

        พ.ศ. 2540 การตัดสินใจว่าจะใช้ระบบเลือกตั้งใดจะเน้นเรื่องการจัดการเลือกตั้งที่
        ไม่ยุ่งยากเกินไปเป็นหลัก โดยที่ไม่ค่อยให้ความส�าคัญกับเรื่องเป้าหมาย โดยเฉพาะ
        อย่างยิ่งในเรื่องการสะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน ประเทศไทยจึงใช้ ระบบเลือกตั้ง

        เสียงข้ำงมำกธรรมดำ มาโดยตลอด โดยในช่วงแรกใช้ ระบบเสียงข้างมากธรรมดา

        เขตละคน (เลือกตั้งครั้งที่ 2-4 ดูตาราง 2) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นระบบเสียงข้างมาก
        ธรรมดา เขตละหลำยคน (เลือกตั้งครั้งที่ 5-19 ดูตาราง 3) จนถึงรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540
        จึงได้มีการน�า ระบบคู่ขนำน มาใช้เป็นครั้งแรก คือใช้ ระบบสัดส่วนบัญชีรำยชื่อ

                                                        65
        มาผสมแบบ “คู่ขนาน” กับ ระบบเสียงข้ำงมำกธรรมดำ  (เลือกตั้งครั้งที่ 20-23

        64    ประเทศเยอรมันเป็นประเทศที่มีการแก้ไขระบบเลือกตั้งค่อนข้างบ่อย นับตั้งแต่ประกาศใช้
        กฎหมายเลือกตั้งสหพันธ์ มีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว 26 ฉบับล่าสุดคือ Sechsundzwanzistes
        Gesetz zur Änderung des Bundeswahlgesetzes (26.BWahlGÄndG) แก้ไขวันที่ 3 มิถุนายน
        ค.ศ.2021
        65    รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ใช้ระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละคน ขณะที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550
        ใช้ระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละหลายคน (ไม่เกิน 3 คน) แต่ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญในปี 2554
        ได้กลับมาหาระบบเสียงข้างมากธรรมดาเขตละคนอีกครั้ง
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94