Page 91 - kpiebook65015
P. 91
90 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตำมรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย พุทธศักรำช 2560 :
การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(1) ระบบเลือกตั้ง “สัดส่วนผสม” แบบเยอรมนี
ระบบเลือกตั้งแบบผสมที่มี ส.ส.ทั้งแบบเสียงข้างมากและแบบสัดส่วนนั้น
มีระบบที่เหมาะสมกับประเทศไทยมากกว่า “ระบบคู่ขนาน” หรือ Parallel System
คือ ระบบ Mixed-Member Proportional (MMP) ที่ผู้วิจัยแปลเป็นไทยแบบให้กระชับ
และเรียกง่ายว่า “ระบบสัดส่วนผสม” ระบบนี้เรามักเรียกกันว่า “ระบบเลือกตั้งแบบ
เยอรมัน” ซึ่งประเทศไทยเกือบจะได้ใช้ หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
68
ผ่านการพิจารณาของสภาปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในปี พ.ศ. 2558
(1.1) หลักการและวิธีค�านวณของ
ระบบเลือกตั้งสัดส่วนผสม
หลักการของระบบเลือกตั้งสัดส่วนผสมคือ คะแนนที่ใช้ในการคิดจ�านวนที่นั่ง
ส.ส. ที่แต่ละพรรคจะได้ หรือ “ส.ส.พึงมี” คือ คะแนนจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ
ของแต่ละพรรค เมื่อได้จ�านวน ส.ส. แล้ว จากนั้นก็มาดูว่าพรรคแต่ละพรรคได้ ส.ส.
แบบแบ่งเขตเลือกตั้งไปแล้วกี่คน ขาดอยู่เท่าใดก็ให้ผู้สมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
ได้รับเลือกตั้งไปจนครบจ�านวนนั้น ซึ่งก็คล้ายกับ “ระบบจัดสรรปันส่วนผสม” ของ
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 แต่มีสองคะแนน และใช้คะแนนที่เลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
หรือคะแนนที่เลือกพรรคมาก�าหนดจ�านวน “ส.ส.พึงมี” นั่นเอง
ระบบเลือกตั้งสัดส่วนผสม จริง ๆ แล้วก็คือ ระบบสัดส่วน 100 เปอร์เซ็นต์
นั่นเอง แต่มี ส.ส. แบบเขตเลือกตั้งด้วย เพราะจ�านวน ส.ส. ที่แต่ละพรรคการเมือง
จะได้รับ จะค�านวณมากจากจ�านวนคะแนนเสียงแบบสัดส่วน หรือคะแนนบัญชีรายชื่อ
68 ดูร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2558 มาตรา 103 และมาตรา 107 https://
www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitution/ewt_dl_link.php?nid=502