Page 70 - kpiebook65011
P. 70
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
นอกเหนือจากประเด็นในส่วนของการจราจรเองแล้ว การแก้ปัญหา
เรื่องจราจรจะต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับประเด็นของผังเมืองด้วย
เพราะถ้าผังเมืองไม่เป็นระบบ ไม่มีการผสมการใช้ที่ดิน การจราจรแบบยั่ง
ยืนก็จะเกิดยาก หากคิดถึงระบบ TOD ในความหมายของการขนส่ง
มวลชนปริมาณมากที่เป็นทางเลือกจากรถ และปรับผังเมืองที่เชื่อมโยงกับ
สถานีขนส่งมวลชนให้รองรับความหนาแน่นของการพักอาศัยและธุรกิจ แต่
ไม่ส่งเสริมให้เกิดความเป็นไปได้ในการเข้าถึงที่พักอาศัย (housing
affordability) ก็จะไม่ก่อให้เกิดความเป็นธรรม เพราะจะเบียดขับให้คนที่มี
รายได้น้อยต้องพักอาศัยห่างจากเมืองมากขึ้นเนื่องจากแรงกดดันในแง่ของ
ราคาที่ดินในเมืองที่เข้าถึงด้วยระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่มากขึ้น และ
พวกเขาก็ต้องเข้ามาทำงานในเมืองซึ่งเป็นแหล่งงานของเขาเช่นเดิม (พิชญ์
พงษ์สวัสดิ์, 2559, 20 กันยายน และ Marks, 2020)
ส่วนในเรื่องประเด็นของรถเมล์นั้น แม้ว่าจะไม่ได้รับผิดชอบโดย
กรุงเทพมหานคร แต่ก็เป็นบริการสาธารณะหลักของคนรายได้น้อยใน
กรุงเทพมหานคร และมักมีคำถามว่ากรุงเทพมหานครควรจะเข้ามาร่วม
ดูแลรถเมล์ นอกเหนือจากปัญหาคุณภาพของรถเมล์เดิมที่เก่าแต่มีค่า
โดยสารที่ถูก จะพบว่ารถเมล์ที่เพิ่มปริมาณขึ้นเป็นรถร่วมบริการของเอกชน
ซึ่งมีราคาแพงกว่า มีรถเมล์ปรับอากาสรุ่นใหม่ที่ค่าโดยสารแพงขึ้น และ
คนใช้บริการรถตู้เพิ่มขึ้น เพราะเขตพักอาศัยของคนที่เข้ามาทำงาน
ใกรุงเทพมหานครไกลขึ้น การนั่ง “รถเมล์ร้อน” ที่ไม่ได้ขึ้นทางด่วน
ไม่ปรับอากาศอาจจะมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่ต้องแลกมาด้วยการเสียเวลา
การเดินทางมากขึ้น และความเสี่ยงต่อมลภาวะในเมือง และทำให้สิทธิที่จะ
มีชีวิตกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเมืองอย่างมีส่วนร่วมและมีศักดิ์ศรี
(RIghts to the City) ของประชาชนโดยเฉพาะด้านการเคลื่อนที่ลดลง
(พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2560, 22 สิงหาคม และพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2562,
5 พฤศจิกายน)
62 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า