Page 68 - kpiebook65011
P. 68
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
4.2.3 การจราจร : ความท้าทายและการเชื่อมโยง
คณะอนุกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการจราจรและขนส่ง
ระยะเร่งด่วนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในคณะกรรมาธิการ
การคมนาคม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของ
ร่างแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
เสนอโดยได้พิจารณาจากปัญหาปัจจุบัน แล้วกำหนดเส้นทางที่มีสภาพ
การจราจรวิกฤต กำหนดแนวคิดในการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดผลในการ
แก้ไขปัญหาเป็นรูปธรรม โดยแบ่งเป็นแผนเร่งด่วน ปี 2562-2566 และ
แผนระยะกลาง/ระยะยาว ปี 2567-2572 ซึ่งโดยภาพรวมแล้วครอบคลุม
ประเด็นในเรื่องของการเพิ่มผิวจราจรในจุดที่จำเป็นเพื่อแก้ไขวิกฤติจราจร
ซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้า การเพิ่มพื้นที่ถนนและ
ปรับระบบการเดินรถเดิมที่ติดขัด เช่น ก่อสร้างอุโมงค์ ถนน ทางยกระดับ
สะพานข้ามแยก และคอขวด การตัดถนนใหม่เชื่อมโยงกับรถไฟฟ้า
สายใหม่ ๆ การทำพื้นที่จอดแล้วจร การส่งเสริมการใช้ระบอบขนส่ง
สาธารณะ การวางแผนขยายระบบเดินเรือ การเร่งศึกษาเพื่อสร้างที่จอดรถ
ใต้เกาะรัตนโกสินทร์ (ฐานเศรษฐกิจ, 2559, 22 สิงหาคม; BLT
Bangkok, 2562, 3 เมษายน) นอกจากนี้ในข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี
จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์จราจรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่
15 สิงหาคม 2561 ยังมีประเด็นเพิ่มเติมบางประการที่น่าสนใจโดยเฉพาะ
เรื่องการกวดขันการกระทำผิดกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด การดำเนินการ
ให้มีระบบ Big Data ด้านการจราจร เพื่อใช้บริหารการจราจร และ
พิจารณานำเทคโนโลยีด้านการขนส่งและการจราจรมาใช้ในการบริหาร
จัดการ (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร, 2561)
จากที่นำเสนอจะพบว่ามิติของการแก้ปัญหาจราจรไม่ว่าจะในแง่ของ
หน่วยงานระดับชาติที่ลงมาแก้ปัญหาในมหานครกรุงเทพและในแง่ของ
60 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า