Page 72 - kpiebook65011
P. 72
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
เห็นว่าการพูดถึงพื้นที่สีเขียวไม่ได้หมายถึงทั้งพื้นที่สวนสาธารณะและพื้นที่
เกษตร แต่เป็นพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการตั้งถิ่นฐานในเมืองโดยเฉพาะระบบ
ระบายน้ำ (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2561)
ประเด็นท้าทายของการจัดเก็บขยะและกำจัดขยะมูลฝอยใน
กรุงเทพมหานครนั้นจะพบว่า กรุงเทพมหานครได้ทุ่มเทงบประมาณเป็น
อย่างมากในการจัดเก็บขยะ แต่ไม่สามารถจัดเก็บรายได้อย่างเพียงพอใน
การแก้ปัญหาดังกล่าว เห็นได้จากการชะลอขึ้นค่าขยะ โดยหากเปรียบเทียบ
ค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะมูลฝอยของกรุงเทพมหานครกับรายได้จาก
การจัดเก็บค่าเก็บขยะมูลฝอย ซึ่งในกรณีค่าเก็บและขนขยะมูลฝอยทั่วไป
ประจำรายเดือน กรณีวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตรนั้น กำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 20 บาทต่อเดือนมาตั้งแต่ปี 2548 กรุงเทพมหานคร
จะต้องรับภาระค่าธรรมเนียมส่วนเกินถึง 206 บาท/เดือน (โพสต์ทูเดย์,
2560, 19 กุมภาพันธ์) แม้ว่าต่อมากรุงเทพมหานครได้กำหนดอัตรา
ค่าธรรมเนียมใหม่ตามข้อบัญญัติที่ออกมาในปี 2562 และให้เริ่มใช้บังคับ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 แต่กรุงเทพมหานครก็ตัดสินใจชะลอการขึ้น
ค่าขยะ โดยเลื่อนการเริ่มเก็บตามอัตราค่าธรรมเนียมใหม่เป็นวันที่
1 ตุลาคม 2563 แทน และเลื่อนอีกครั้งเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และ
ล่าสุดได้เลื่อนอีกครั้งเป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2565 โดยเหตุผลในการเลื่อน
ก็คือเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าใช้จ่ายของ
ประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
(เดลินิวส์, 2564, 7 สิงหาคม) นอกจากนั้นกรุงเทพมหานครยังไม่
สามารถลดปริมาณขยะได้ ทั้งโดยระบบการคัดแยกขยะที่ยังไม่เป็นบริการ
ขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากยังไม่มีรถจัดเก็บและการรณรงค์
การแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะอย่างเป็นระบบ
ในประการสุดท้าย ปัญหาการกำจัดขยะในกรุงเทพมหานครยังขยาย
ไปสู่เรื่องของความเป็นธรรมในเรื่องมลภาวะในระดับภูมิภาค เพราะ
64 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า