Page 73 - kpiebook65011
P. 73
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
กรุงเทพมหานครไม่ได้ทำการเผาหรือฝังกลบขยะ แต่ใช้วิธีส่งออกขยะของ
ตนผ่านศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยสามแห่งของตนออกไปฝังกลบในพื้นที่รอบ
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการผลักเอาปัญหามลภาวะของขยะไปสู่พื้นที่
โดยรอบ
สำหรับประเด็นเรื่องมลพิษทางอากาศในมหานครกรุงเทพนั้น
เดิมปัญหาอยู่ที่เรื่องของของฝุ่นจากควันรถ แต่ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา
19
จะมีเรื่องของฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นฝุ่นที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า นอกจากมี
การจัดงบประมาณรายจ่ายจำนวนน้อยในการจัดการมลพิษทางอากาศแล้ว
สำนักสิ่งแวดล้อมยังไม่มีมาตรการในการแก้ไขปัญหาคุณภาพอากาศจาก
ฝุ่นขนาดเล็ก นอกจากการจัดหาและติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศ
จำนวนหนึ่ง หรือการฉีดพ่นน้ำในบริเวณที่มีค่าฝุ่นสูงเพื่อแก้ปัญหา
เฉพาะหน้าเป็นครั้งคราวเท่านั้น และถ้าพิจารณาการทบทวนแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) จะพบว่ามีการทบทวน
และปรับตัวชี้วัดในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศด้วย แม้จะมี
ความพยายามในการระบุเอาไว้ในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครในเรื่องของ
การพัฒนาคุณภาพอากาศและเสียง แต่เรื่องหลายเรื่องก็ไม่ได้อยู่ในอำนาจ
ของกรุงเทพมหานคร เช่น เรื่องของการตรวจสอบคุณภาพอากาศ และ
19 คุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานครสามารถพิจารณาได้จากค่าฝุ่น เช่น
ค่าฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) และค่าฝุ่นขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน
(PM2.5) โดยฝุ่น PM10 จะมีค่ามาตรฐานอยู่ที่ไม่เกิน 120 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
หรือไม่เกิน 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในกรณีของฝุ่น PM2.5 โดยปี 2565 ในบางวัน
จะพบว่ากรุงเทพมหานครมีฝุ่น PM2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ที่เกินค่ามาตรฐานอยู่หลายจุด
(ดูตัวอย่างในภาพ 7) อันที่จริงแล้ว ปัญหาค่าฝุ่นเกินมาตรฐานยังเป็นปัญหาที่วนเวียน
รบกวนชาวกรุงเทพมหานครอยู่ทุกปี โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์
(เห็นได้จากข่าวเรื่องฝุ่นที่วนเวียนมาทุกปี เช่น ประชาชาติธุรกิจ, 2561, 24 มกราคม;
เวิร์คพอยท์ทูเดย์, 2561, 28 ธันวาคม; ไทยพีบีเอส, 2562, 16 ธันวาคม; ไทยพีบีเอส,
2563, 13 ธันวาคม เป็นต้น)
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
65