Page 71 - kpiebook65011
P. 71
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
4.2.4 สิ่งแวดล้อม : พื้นที่สีเขียว ขยะ และฝุ่น
ในการพิจารณาประเด็นเรื่องพื้นที่สีเขียว ยังมีเรื่องที่ยังไม่เป็นที่
ตกลงร่วมกันในมุมมองที่มีต่อพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะ
ว่าชนิดของพื้นที่สีเขียว การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว และมาตรฐานของพื้นที่
สีเขียวของกรุงเทพมหานครว่าได้มาตรฐานตาม WHO หรือไม่
เมื่อพูดถึงพื้นที่สีเขียว จะต้องแยกพื้นที่สำคัญสองส่วนออกจากกัน
คือ พื้นที่เกษตร (รวมทั้งพื้นที่สีเขียวที่เป็นของเอกชน) กับพื้นที่
สวนสาธารณะ เพราะพื้นที่เกษตรนั้นเป็นพื้นที่ที่ประชาชนอาจจะเข้าถึง
ไม่ได้ในเชิงนันทนาการ และการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ที่ดินเป็นเรื่องของ
เจ้าของที่ดินเอกชนเหล่านั้น
ในกรณีของกรุงเทพมหานครนั้นจะพบว่าเมื่อแยกพื้นที่สีเขียวที่เป็น
พื้นที่เกษตรและพื้นที่เอกชนออกไปจากพื้นที่สวนสาธารณะที่ดูแลโดย
กรุงเทพมหานคร พื้นที่สวนสาธารณะที่ดูแลโดยกรุงเทพมหานครจะมี
ปริมาณน้อยกว่าสัดส่วนของพื้นที่สีเขียวในมาตรฐานของ WHO ที่รับรู้กัน
ว่าควรมีอยู่ที่ 9 ตารางเมตร/คน แต่กรุงเทพมหานครมีสัดส่วนพื้นที่
สวนสาธารณะในความรับผิดชอบของสำนักสิ่งแวดล้อมและสำนักงานเขต
ต่าง ๆ ต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 7.11 ตารางเมตร/คน (ดูตาราง 8) และ
จะพบว่าพื้นที่สีเขียวแบบเหมารวมเอาพื้นที่เกษตรนั้นทำให้เราเห็นว่าพื้นที่
ประเภทดังกล่าวนั้นอยู่นอกเขตหนาแน่นของกรุงเทพ ขณะที่ในพื้นที่ที่มี
การพักอาศัยหนาแน่นและพื้นที่พาณิชยกรรมจะมีพื้นที่สีเขียวในสัดส่วนที่
ต่ำกว่ามาตรฐาน (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2561)
นอกจากนี้แล้ว การพิจารณาเรื่องพื้นที่สีเขียวยังจะต้องคำนึงถึงพื้นที่
สีเขียวในแง่ของพื้นที่ในระบบนิเวศน์ หมายถึงระบบที่มากกว่าตัวต้นไม้และ
สนามไปสู่ระบบน้ำ คลอง และสิ่งมีชีวิต ซึ่งในแง่นี้พื้นทีสีเขียวจะต้องโยง
กับพื้นที่ชุ่มน้ำในระบบนิเวศน์วิทยา ซึ่งเมื่อเราเข้าใจเรื่องนี้แล้ว เราจะเริ่ม
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
63