Page 64 - kpiebook65011
P. 64
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
4.2.2 ปัญหาน้ำท่วม : ฐานคิดในการกำหนดนโยบายและปฏิบัติการ
ในการประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในส่วนของการระบายน้ำ
และป้องกันปัญหาน้ำท่วมนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ได้แก่
การที่ยังมีน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครอยู่ทุกปี แม้กรุงเทพมหานครจะเรียกว่า
เป็น “น้ำรอการระบาย” ก็ตาม การที่ยังมีจุดเสี่ยงน้ำท่วมในบริเวณเดิม ๆ
ในทุก ๆ ปี และมักจะเป็นจุดซ้ำเดิมภายใต้การรับผิดชอบของหน่วยงาน
เดิม คือ สำนักการระบายน้ำ นอกจากนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมของ
18
กรุงเทพมหานครยังมีลักษณะของการตั้งรับ กั้นน้ำ และเน้นการระบายน้ำ
มากกว่าเรื่องของการให้ความสำคัญกับการปรับภูมิทัศน์เมืองเพื่อให้รองรับ
ระบบนิเวศน์ของเมืองที่มีลักษณะชุ่มน้ำ (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2562,
11 มิถุนายน; พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2563, 6 ตุลาคม)
นอกจากนี้แล้วการแก้ปัญหาเรื่องน้ำท่วมที่เน้นการตั้งรับทำให้ไม่เกิด
ความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับพื้นที่จังหวัดโดยรอบ ทั้งที่น้ำ
ที่ท่วมกรุงเทพมหานครนั้นมาจากทั้งน้ำที่รอการระบายจากปริมาณฝน
(และการอุดตันของคูคลอง และลักษณะพื้นที่ลุ่มของกรุงเทพมหานคร)
การหนุนของน้ำทะเล และปัจจัยภายนอกก็คือ น้ำที่หลากมาจากส่วนอื่น ๆ
ของประเทศที่รอการไหลลงสู่อ่าวไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการระบายน้ำ
และบริหารจัดการน้ำของกรุงเทพมหานครและพื้นที่โดยรอบเคยเกิด
ความขัดแย้งมาแล้วในช่วงของน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 อีกทั้งเมื่อพิจารณา
เรื่องประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเรื่องงบประมาณระบายน้ำจะพบว่า
ยังจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยในเรื่องสภาพภูมิอากาศในระดับโลกที่มีส่วน
18 จุดเสี่ยงน้ำท่วม (ซึ่งหมายถึง พื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมกรณีฝนตกปานกลางถึง
หนัก) ในแผนปฎิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2563
ในส่วนรับผิดชอบของสำนักการระบายน้ำ มีทั้งหมด 14 จุด และเป็นจุดเดียวกันกับ
จุดเสี่ยงน้ำท่วม 14 จุดในแผนฯ ประจำปี 2562 ส่วนจุดเสี่ยงน้ำท่วมในแผนฯ ประจำปี
2564 เหลือจำนวน 12 จุด โดยเป็นจุดในพื้นที่เดิมเช่นกัน
56 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า