Page 61 - kpiebook65011
P. 61

ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
                         ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565


             ที่ดินเพื่อสร้างความหนาแน่นของพื้นที่มากขึ้น โดยไม่ได้มีกลไกรองรับและ
             ควบคุมการพัฒนาในพื้นที่เหล่านั้น และป้องกันไม่ให้ผู้คนที่เปราะบางต้อง
                                16
             ถูกเบียดขับจากพื้นที่  ในอีกด้านหนึ่งการพยายามที่จะส่งเสริมให้เกิด
             รูปแบบของ “เมืองกระชับ” ตามแผนพัฒนากรุงเทมพมหานคร ที่เชื่อมโยง

             กับการจัดทำศูนย์การพัฒนาย่อยแปดศูนย์ ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
             เนื่องจากจำนวนประชากรของมหานครกรุงเทพลดลง ไม่หนาแน่นพอ
             ในส่วนที่ต้องการจะทำเมืองกระชับ และประชาชนก็ย้ายออกไปอยู่ใน

             จังหวัดปริมณฑลของกรุงเทพมหานครมากขึ้น 17



                    16  ความเห็นของผู้เขียนในรายงานผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษา
             ทบทวน และปรับตัวชี้วัดระดับเมือง ตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี
             (สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562) ระบุว่า
             บางส่วนของผังเมืองรวมมุ่งเน้นไปในด้านการส่งเสริมการลงทุนที่มีผลต่อเศรษฐกิจ
             ในขณะที่อีกส่วนเริ่มมาเห็นความสำคัญของการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ลักษณะของ
             การเติบโตของเมืองตามที่ผังเมืองคาดไม่ได้มองถึงประเด็นความเท่าเทียมของคนจาก
             มาตรการผังเมืองรวมเท่าไรนัก คนจนหรือชุมชนเปราะบางเมื่อการกำหนดการใช้พื้นที่
             กระทบต่อคนเหล่านี้ให้ถูกเบียดขับออกจากเมืองไปอยู่ที่อื่น ๆ จะมีมาตรการอย่างไร
             เพื่อจะรองรับ นอกเหนือจากการจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือผู้อยู่อาศัยเดิม
             ในพื้นที่โครงการที่มีอยู่ผังเมืองรวม พ.ศ. 2556 เนื่องจากความเป็นคนในเมือง
             เช่นเดียวกันเราจะจัดสรรอย่างไรเพื่อให้เขาเหล่านั้นยังเข้าถึงสาธารณูปโภคหรือบริการ
             ต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างเท่าเทียม
                    17  กรณีสมมติ เช่น การที่มีความพยายามก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้ามวลชน
             เพื่อเชื่อมต่อเขตพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงปริมณฑล ผลของการสร้างไม่เพียงแต่ทำให้มีเส้นทาง
             การเดินทางที่สะดวกและประหยัดเวลา ถ้าหากไม่มีมาตรการรองรับเรื่องการก่อสร้างหรือ
             ใช้ที่ดินรอบสถานี ย่อมเห็นได้ว่าพื้นที่ตามแนวเส้นทางนั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงไปแทนด้วย
             การมีอาคารพักอาศัยประเภทอาคารสูงหรือศูนย์การค้าปรากฏขึ้นมา พื้นที่ความเจริญ
             จะเปลี่ยนเป็นแนวการกระจุกตัว เมื่อมีการเดินทางโดยรถไฟฟ้ามวลชนแล้วคนจะมี
             พฤติกรรมในการเลือกสถานที่ทำงานโดยยังยึดอยู่ปัจจัยอื่นมากกว่าเรื่องดังกล่าว เช่น
             ค่าการเดินทาง หรือค่าตอบแทนในการทำงาน



 สถาบันพระปกเกล้า
                                          สถาบันพระปกเกล้า
  53
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66