Page 58 - kpiebook65011
P. 58
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
เช่นมีนครย่อย ๆ สักสองหรือสามแห่ง หรือให้มีการแบ่งแยกระหว่าง
13
มหานครกรุงเทพกับธนบุรีออกจากกัน แต่แนวคิดนี้ไม่ได้รับการตอบรับ
เพราะเกรงว่าจะมีผลทางการเมืองและการบริหารเช่นกัน เพราะในอีก
ด้านหนึ่งความสำคัญในการบริหารในภาพรวมของพื้นที่มหานคร ซึ่งนับวัน
จะยิ่งขยายออกไปเกินของขอบเขตการบริหารของกรุงเทพมหานคร จะยิ่ง
ขาดการประสานกันโดยเฉพาะหากมีการแบ่งแยกออกเป็นมหานครย่อย ๆ
อีกทั้งประชาชนในพื้นที่ยังอาจขาดสำนึกร่วมของการอยู่ในมหานคร
เดียวกันที่เผชิญปัญหาร่วมกัน (พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์, 2547) ในอีกด้านหนึ่ง
ข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้อำนวยการเขตก็ยังไม่เคยมีการขานรับอย่าง
จริงจัง
4.2 ปัญหาการพัฒนาเมือง
4.2.1 ประเด็นท้าทายในแผนพัฒนากรุงเทพมหานครและผังเมืองรวม
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) (ต่อมามีการปรับปรุงเป็นแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับปรับปรุง) โดย
นำแผนวิสัยทัศน์ของประชาชนเพื่อการพัฒนากรุงเทพมหานคร มาเป็น
13 เคยมีข้อเสนอว่า ถ้าหากจะพิจารณาระบบริหารพื้นที่กรุงเทพมหานครใหม่
มีการแบ่งเบางานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแยกออกไปเลียนแบบมหานคร
นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ที่มีประชากรราว ๆ 20 ล้านคน โดยแบ่งออกเป็น 5 เทศบาล
คือ 5 โบโร่ส์ คือเดอะบรองซ์ คิงส์หรือบรูคลิน นิวยอร์กหรือแมนแฮตตัน ริชมอนด์หรือ
เกาะสเตเต้น และควีนส์ งานของตัวผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะได้เบาลงมาบ้าง
ไม่เกินกำลัง มีข้อเสนอว่า 50 เขตในกรุงเทพมหานครหากแบ่งย่อยลงไปเป็น 3 มหานคร
3 เทศบาลมหานครหรือโบโร่ส์ ให้ 50 เขตมี 3 มหานคร มีนายกเทศมนตรีที่เลือกตั้ง
มา 3 คนนั่นคือ มหานครรัตนโกสินทร์ 18 เขต มหานครกรุงเทพ 17 เขต มหานคร
ธนบุรี 15 เขต (จิระพงค์ เต็มเปี่ยม, 2564, 6 เมษายน)
50 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า