Page 59 - kpiebook65011
P. 59
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
กรอบในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อให้กรุงเทพมหานครก้าวสู่
การเป็น “มหานครแห่งเอเชีย” โดยแบ่งช่วงการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ
ระยะละ 5 ปี ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 นี้อยู่ในช่วงระยะที่ 2
(พ.ศ. 2561-2565) และกรุงเทพมหานครได้ดำเนินการตามแผนพัฒนา
กรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556-2575) มาแล้วช่วงเวลาหนึ่ง
แต่ยังมีข้อจำกัดในการติดตามความก้าวหน้าของมหานครทั้ง 7 มิติ
อันเป็นการพัฒนาที่มุ่งเป้าหมายในการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ในด้าน
ความปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมเมืองสีเขียวสวยงาม ด้านเมืองสำหรับ
ทุกคน ด้านเมืองกระชับมีการจราจรที่สะดวกสบาย ด้านเมืองเศรษฐกิจ
และการเรียนรู้ ด้านเมืองแห่งการพัฒนาประชาธิปไตย และด้านการบริหาร
เมืองอย่างมืออาชีพ
แต่จากการดำเนินงานในการพัฒนาเมืองตามเป้าหมายวิสัยทัศน์
และเป้าประสงค์ของมหานครด้านต่าง ๆ นั้น พบว่าการดำเนินงานและ
กิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานหลักต่าง ๆ ภายใต้
สังกัดของกรุงเทพมหานครนั้น มีความไม่สอดคล้องกันระหว่างเป้าหมาย
ตัวชี้วัดการพัฒนาเมืองซึ่งเป็นเป้าหมายของการพัฒนาตามแผนกับ
การดำเนินงานภารกิจและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัด ทำให้
กรุงเทพมหานครไม่สามารถที่จะมีผลการดำเนินงานและการพัฒนาตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานของเมืองมหานครที่ควรจะเป็น อีกทั้ง
ปัจจุบันได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
ที่กำหนดบทบาทและภารกิจของหน่วยงานต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน
มีการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560-2564) เป็นกรอบการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทย
มียุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ซึ่งถือเป็นเป้าหมายและทิศทาง
การพัฒนาที่สำคัญ ที่ทุกภาคส่วนโดยเฉพาะภาคราชการต้องดำเนินการให้
เป็นไปตามทิศทางดังกล่าว
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
51