Page 60 - kpiebook65011
P. 60
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
โดยสรุปแล้ว การวางแผนพัฒนากรุงเทพมหานครนั้นประสบปัญหา
สามด้าน ในด้านแรก การวางแผนของกรุงเทพมหานครจำต้องล้อไปตาม
แผนพัฒนาที่ใหญ่กว่า ซึ่งเมื่อแผนพัฒนาที่ใหญ่กว่าในระดับชาติมีความ
เปลี่ยนแปลง กรุงเทพมหานครก็จะต้องปรับเปลี่ยนแผนตามไปด้วย ใน
ด้านที่สองคือ ในแง่ของการจัดทำแผนและนำแผนไปปฏิบัตินั้น
กรุงเทพมหานครก็ประสบปัญหาเรื่องการจัดทำตัวชี้วัด ที่สะท้อนความเป็น
จริง และในด้านที่สามคือปัญหาเรื่องของการไม่ประสานงานกันระหว่าง
ฝ่ายวางแผนที่อยู่ที่สำนักของกรุงเทพมหานครที่เป็นส่วนกลางของการ
บริหารกับสำนักงานเขตทั้ง 50 แห่ง 14
ในส่วนของปัญหาเรื่องการผังเมืองในมหานครกรุงเทพนั้น โดย
ภาพรวมแล้ว ผังเมืองรวมของกรุงเทพมหานครฉบับแรกนั้นได้รับ
การประกาศใช้ในปี 2535 ซึ่งล่าช้าไปกว่าการพัฒนาที่ดินจริงในมหานคร
กรุงเทพซึ่งมีมาก่อนหน้านั้นหลายทศวรรษ ดังนั้นผังเมืองรวมของ
กรุงเทพมหานครจึงไม่สามารถทำหน้าที่กำกับการพัฒนาได้อย่างจริงจัง
หากแต่ทำหน้าที่รองรับการพัฒนาของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เสียมากกว่า
นอกจากนี้ในการปรับปรุงและประกาศใช้ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
ในแต่ละครั้งจะพบว่ามีความล่าช้า และมีการขยายการบังคับมาโดยตลอด
15
จนถึงฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสีการใช้ประโยชน์
14 ในการดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
สังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นหน่วยงานที่ได้รับมอบอำนาจหน้าที่หลายประการ รวมถึง
การดำเนินการวางและจัดทำผังเมือง วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะ การวางผังเพื่อการอนุรักษ์
ฟื้นฟู และการพัฒนาเมือง ภายในกรุงเทพมหานคร
15 ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ที่ประกาศใช้บังคับในปัจจุบัน เป็น
ผังปรับปรุงครั้งที่ 3 ประกาศใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2556 และจะใช้
บังคับไปจนกว่าจะมีกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมฉบับใหม่ออกมา โดยอาศัยอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518
52 สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า