Page 65 - kpiebook65011
P. 65
ก่อนจะถึงการเลือกตั้ง
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2565
ในการกำหนดปริมาณฝนในแต่ละปีด้วย เช่นปีไหนแล้งหรือปีไหนมีฝน
ตกหนัก
การพิจารณาเรื่องของประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในส่วนของ
การระบายน้ำและป้องกันปัญหาน้ำท่วมนั้นจะต้องคำนึงถึงเรื่องของ
ความพึงใจ การรับรู้ และความคาดหวังของประชาชนในกรุงเทพมหานคร
ต่อการทำงานของกรุงเทพมหานครด้วย โดยเฉพาะในกรณีโลกออนไลน์
ที่การสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว จะพบว่าประชาชนไม่พึงใจกับ
การพยายามกำหนดนิยามน้ำท่วมว่าเป็นน้ำรอการระบาย ทุกครั้งที่มี
น้ำท่วมก็จะมีการเข้าไปแสดงความคิดเห็นต่อความล่าช้าในการแก้ปัญหา
ในการระบายน้ำ รวมไปถึงการตั้งคำถามถึงตำแหน่งของ “อุโมงค์ยักษ์”
ที่จนวันนี้ยังไม่มีการยืนยันว่าอุโมงค์ยักษ์ในการระบายน้ำที่ใช้งบประมาณ
มหาศาลนั้นสามารถระบายน้ำได้จริงไหม ขณะที่ยังมีข่าวว่ากุญแจสถานี
สูบน้ำและประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำนั้นยังมีปัญหาโดยตลอด (ดู
โพสต์ทูเดย์, 2561, 3 ตุลาคม; ไทยพับลิก้า, 2563, 9 ตุลาคม)
ในประการสุดท้าย การพิจาณาเรื่องน้ำท่วมจะต้องคำนึงถึงมิติของ
นิเวศน์วิทยาการเมืองในระดับเมือง (urban political ecology) ด้วย ในแง่
ที่ว่าชนชั้นนำในกรุงเทพมหานครได้ประโยชน์และแสวงหากำไรจาก
การพัฒนาพื้นที่ในกรุงเทพมหานครจนทำให้เกิดการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์
ในที่ดินไปอย่างมหาศาล และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเมืองที่ทำให้
เปราะบางต่อการรับมือกับปัญหาน้ำท่วม อาทิ การใช้น้ำบาดาลมากเกินไป
เพราะน้ำประปาไม่พอใช้ ทำให้ดินทรุด หรือเกิดการถมคลอง รวมทั้งการที่
กรุงเทพมหานครและรัฐบาลในระดับชาตินั้นมีวิธีแก้ปัญหาผ่านการพึ่งพา
โครงสร้างขนาดใหญ่ที่เก่าแก่ ล้าสมัย และไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี
ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อ
ปี 2554 (Marks, 2018)
สถาบันพระปกเกล้า
สถาบันพระปกเกล้า
57