Page 54 - kpiebook63023
P. 54
54 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถส่งเสริมความเป็นพลเมืองของประชาชนได้โดย
1. การส่งเสริมการรวมกลุ่มของประชาชน
การรวมกลุ่มนี้หมายถึงการรวมกลุ่มโดยแนวนอน ทั้งในรูปของการจัดตั้งเป็นชุมชนในละแวกบ้าน
เดียวกัน หรือ การรวมกลุ่มตามความสนใจ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มสิ่งแวดล้อม และกลุ่มเยาวชน รวมทั้งการรวม
กลุ่มมิตร เช่น กลุ่มเสี่ยวที่เกิดในปีเดียวกัน ซึ่งการรวมกันกันในลักษณะเช่นนี้เป็นการเสริมสร้างสิ่งที่เรียกว่า
ทุนทางสังคม เพราะการรวมกลุ่มเป็นการพัฒนาให้คนมีมุมมองที่กว้างกว่าเรื่องของตนเองและเห็นแก่ประโยชน์
ของส่วนรวมมากขึ้น ทำาให้เกิดความผูกพันและสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันในที่สุด ทุนทางสังคมนี้ทำาให้
การรวมพลังกันทำางานเพื่อส่วนรวมเป็นเรื่องง่ายเนื่องจากประชาชนอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการรวมตัวในลักษณะนี้
ในระยะแรกของการสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
อาจเข้าไปให้ความช่วยเหลือภาคประชาชนในการจัดตั้งประชาคม กลุ่มและชมรมต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้โดยการสนับสนุน
ให้ประชาชนที่อยู่อาศัยในละแวกเดียวกันรวมตัวกันเป็นชุมชน มีการเลือกตั้งประธานชุมชน และคณะกรรมการ
ชุมชน เพื่อทำาให้หน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนในชุมชน สนับสนุนให้มี
การประชุมประชาคมหมู่บ้านอย่างสมำ่าเสมอ (เช่น ทุกเดือน) เพื่อร่วมกันระบุปัญหาและแสวงหาแนวทางแก้ไข
ปัญหาของชุมชน ก่อนนำาเสนอต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป รวมถึงสนับสนุนให้ชุมชนมีกิจกรรมทำาร่วมกัน
อย่างสมำ่าเสมอ เพื่อสร้างความใกล้ชิด คุ้นเคย และความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกในชุมชน
โดยกิจกรรมนี้อาจเป็นกิจกรรมพัฒนาชุมชน หรือกิจกรรมตามประเพณีของท้องถิ่นก็ได้ นอกจากนั้น องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นควรต้องมีกิจกรรมพัฒนาความรู้และทักษะในการทำางานให้กับผู้นำาและสมาชิกของกลุ่มด้วย
อนึ่ง ขนาดของชุมชนหรือกลุ่มไม่ควรมีขนาดใหญ่เกินไป เพราะจะทำาให้ยากต่อการสร้าง
ความคุ้นเคยระหว่างสมาชิกในชุมชนด้วยกัน และอาจทำาให้การพูดคุยหารือระหว่างสมาชิกเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึง
2. การสร้างความร่วมมือและการประสานงานระหว่างชุมชน
นอกเหนือจากการสร้างเสริมความเข้มแข็งแต่ละกลุ่มและชุมชนแล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ควรสร้างความเข้มแข็งให้แก่ท้องถิ่นโดยภาพรวมด้วย กล่าวคือ ควรสนับสนุนให้ชุมชนและกลุ่มต่าง ๆ ในพื้นที่
มีการปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งในรูปของการสร้างความร่วมมือ เช่น การทำากิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ขุดคลอง
ทำาความสะอาดถนนร่วมกัน และในรูปแบบของการถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน (Knowledge Transfer)
เช่น มีการเชิญตัวแทนประชาชนจากชุมชนที่มีความรู้ด้านการจัดทำาแผนพัฒนาชุมชนไปเป็นวิทยากรถ่ายทอด
ความรู้ให้แก่ประชาชนในชุมชนอื่น หรือการแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่แต่ละชุมชมมีความถนัดต่างกัน
เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ต่างชุมชนได้มีโอกาสพบปะและสร้างความคุ้นเคยกัน ทั้งในลักษณะที่เป็นทางการและ
ไม่เป็นทางการ