Page 49 - kpiebook63023
P. 49

49








                           •  เสริมอำานาจประชาชนในการตัดสินใจ


                           •  มีนโยบายพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมในการทำางานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ในการ

                             จัดทำาแผนพัฒนาท้องถิ่น

                           •  สร้างระบบประชาสัมพันธ์ที่ดี ให้กลายเป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิผลระหว่างองค์กร

                             ปกครองส่วนท้องถิ่นกับประชาชนในพื้นที่


                           •  สนับสนุนให้บุคลากรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งเพิ่มความรู้

                             ด้านต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน เช่น ความรู้ในการจัดทำาแผนชุมชน

                           •  การจัดประชุมประชาคมอย่างต่อเนื่องและเป็นทางการ มีการจดบันทึกเพื่อเป็นข้อมูลให้หน่วยงาน

                             ภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับเรื่องไปพัฒนางานของหน่วยงาน


                           •  โครงการมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนเพื่อสร้างเยาวชนให้มีความรู้เพื่อพัฒนาชุมชน มีการให้
                             เยาวชนที่ได้รับทุนเข้ามาร่วมนำาเสนอแผนงานโครงการในการพัฒนาชุมชน ซึ่งถือเป็นการพัฒนา

                             ทรัพยากรบุคคลในพื้นที่เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในอนาคต


                           •  ริเริ่มนวัตกรรมการเสริมสร้างประชาธิปไตยในท้องถิ่น เช่น ใช้เทคโนโลยีและสื่อทางสังคมออนไลน์
                             เข้ามาช่วยพัฒนา



                          2. สภำท้องถิ่น



                             สภาท้องถิ่นถือเป็นตัวแทนของประชาชนโดยผ่านการเลือกตั้ง จึงจำาเป็นต้องทำาหน้าที่แทนประชาชน
                  ใน 3 บทบาท คือ ด้านนิติบัญญัติ ด้านการถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร และด้านความสัมพันธ์กับประชาชนในเขตเลือกตั้ง


                          1. การด�าเนินบทบาทด้านนิติบัญญัติของสมาชิกสภาท้องถิ่น มีดังนี้


                                   -  สมาชิกสภาท้องถิ่นควรให้ความสำาคัญในการยกร่างและเสนอร่างข้อบัญญัติที่สำาคัญต่อ

                                     การพัฒนาท้องถิ่นเข้าสู่การพิจารณา โดยการดำาเนินการนั้นสมาชิกสภาท้องถิ่นควรให้
                                     ความสำาคัญกับหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การจัดรับฟังความคิดเห็นประชาชน

                                     ในระหว่างการยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่น นอกจากนั้นสภาท้องถิ่นอาจขอคำาแนะนำาใน
                                     การยกร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นจากนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่

                                   -  ในการพิจารณาร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นที่เสนอโดยฝ่ายบริหาร สภาท้องถิ่นควรพิจารณา

                                     และกลั่นกรองร่างข้อบัญญัติ โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น สภาท้อง
                                     ถิ่นอาจแต่งตั้งภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องเข้าเป็นอนุกรรมการพิจารณาด้วย หรืออาจจัด

                                     ให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อให้มั่นใจว่าข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นเป็น
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54