Page 52 - kpiebook63023
P. 52

52   ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)








                      5. ประชำชนในฐำนะพลเมือง



                         ในสังคมประชาธิปไตย หัวใจสำาคัญคือการเปลี่ยนหรือปลูกฝังทัศนคติให้ประชาชนเห็นว่าตนเป็น
             พลเมือง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างราษฎรและพลเมือง พลเมืองคือราษฎรหรือ

             ประชาชนที่นอกจากเสียภาษีและปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองแล้ว ยังต้องมีบทบาทและอำานาจทางการเมือง
             คือ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ทางการเมือง และยังมีสิทธิเข้าไปร่วมในการทำากิจ

             ต่าง ๆ เพื่อส่วนรวมไปกับรัฐด้วย พลเมืองอาจเป็นฝ่ายรุกได้ ไม่เฉื่อย ส่วนราษฎรเป็นฝ่ายรับ คิดว่าตนเป็นผู้น้อย

                         นอกจากนี้ยังมีการชี้ความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างลูกค้าและพลเมือง ลูกค้าคือคนที่

             ต้องพึ่งพาและอยู่ในอาณัติของคนที่ให้ความช่วยเหลือ ลูกค้าคือคนที่คอยให้คนอื่นมาทำาให้แทนโดยผ่าน

             การแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราหรือค่าตอบแทน แต่พลเมืองคือคนที่เข้าใจปัญหาของชุมชน และเชื่อว่ามีความสามารถ
             ที่จะดำาเนินการเองได้ พลเมืองที่ดีทำาให้ชุมชนเข็งแกร่ง ความสนใจเรื่องพลเมืองยังสอดคล้องกับแนวคิด
             ประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งเชื่อในพลังของส่วนรวมที่ไม่ใช่รัฐ เช่น กลุ่มอาสาสมัคร สมาคม องค์กรพัฒนา

             เอกชน ที่สามารถทำางานเพื่อส่วนรวม ถือว่าเป็นทุนทางสังคม ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย


                         สังคมประชาธิปไตยต้องการประชาชนที่มีลักษณะดังนี้


                         1.  พลเมืองตระหนักรู้ (concerned citizen) ถือเป็นหน้าที่ของประชาชนที่ต้องติดตามข่าวสาร
                            เกี่ยวกับสภาพและปัญหาของสังคม ตระหนักรู้ในสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค สนใจปัญหา

                            ของบ้านเมือง เพราะถ้าประชาชนไม่รู้เรื่อง ไม่มีข้อมูลหรือข้อเท็จจริง การตัดสินใจอย่าง
                            มีเหตุมีผลเพื่อประโยชน์ส่วนรวมคงเกิดได้ยาก การตัดสินใจคงอยู่บนพื้นฐานของอารมณ์และ

                            ความรู้สึกเป็นสำาคัญ การชักจูงให้เชื่อทางใดทางหนึ่งเกิดได้ง่าย


                         2.  พลเมืองกระตือรือร้น (Active Participation) ประชาชนยังต้องมีความกระตือรือร้นใน
                            กิจการส่วนรวม สนใจรวมกลุ่มและร่วมมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ส่งผลให้เกิดประชาสังคม

                            ยินดีอาสาสมัครทำางานเพื่อบ้านเพื่อเมือง โดยไม่จำาเป็นต้องรอส่วนราชการ โดยเฉพาะในประเด็น
                            ที่แก้ไขได้ด้วยตนเองและกลุ่มในชุมชน รวมทั้งเข้าติดตามและตรวจสอบการทำางานของท้องถิ่น
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57