Page 57 - kpiebook63023
P. 57
57
“เวทีข่วงผญ๋ำ ฮอมก�ำกึ๊ด เวทีของประชำชน : เทศบำลต�ำบล
เกำะคำ จังหวัดล�ำปำง”
เวทีข่วงผญ๋า ฮอมกำากึ๊ด และ เวทีประชาคม เป็นการใช้พื้นที่สาธารณะของชุมชน (public space)
เช่น ศาลาอเนกประสงค์ ลานบ้าน ลานวัด และสวนสาธารณะ เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อร่วมกัน
ค้นหาปัญหา ตีแผ่ข้อมูลความคิด ระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา ตลอดจนการติดตามผลจาก
การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในระดับหมู่บ้านและระดับตำาบล โดยใช้กลวิธีการค้นหาบุคคลที่มีจิตอาสาในการทำางาน
เพื่อมาเป็นแกนนำาหลัก (นักวิจัยชุมชน) ในการนำาคิด และสรุปข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำาเสนอต่อเทศบาลตำาบลเกาะคา
พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมู่บ้านได้รับทราบว่าตอนนี้ปัญหาที่พวกเขาเสนอมีขั้นตอนการดำาเนินงาน
ไปถึงไหนแล้ว วิธีนี้ทำาให้คนในชุมชนรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของพื้นที่ (sense of belongings) เห็นคุณค่าและ
ความสำาคัญของทุกความคิดเห็น ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมีส่วนร่วมในชุมชนอีกด้วย
จากการใช้พื้นที่สาธารณะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมถกประเด็นปัญหาสาธารณะ (common
issues) ทำาให้เกิดกลุ่มคนในชุมชนที่มีจิตอาสาต้องการพัฒนาและดูแลหมู่บ้านให้มีความสุข โดยทุกหมู่บ้านมี
การค้นหาบุคคลที่มีจิตอาสาประมาณ 2 - 5 คน เพื่อทำาหน้าที่เป็นนักวิจัยชุมชน มีหน้าที่ชวนคุยเพื่อรับทราบปัญหา
วิเคราะห์พื้นที่ หาพื้นที่สร้างสรรค์ ค้นหาข้อมูล นำาเสนอข้อมูล และจัดเวทีสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน
นอกจากนี้ตำาบลเกาะคายังมี สภาองค์กรชุมชน เป็นตัวแทนจากภาคประชาชนทุกหมู่บ้านเพื่อ
รวบรวมข้อมูลปัญหา และประสานการทำางานกับหน่วยงานภายนอกเพื่อมาช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณ
ในการพัฒนาหมู่บ้านหรือตำาบลในทุกกลุ่มเป้าหมาย
เทศบาลตำาบลเกาะคายังได้ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์หรือศาลาที่อ่านหนังสือพิมพ์ของหมู่บ้าน
ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนเทศบาลตำาบลเกาะคา เพื่อเป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และประชาชน
ทั่วไป และเพื่อเป็นการยกระดับการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียนของท้องถิ่น นอกจากนี้ เทศบาลตำาบลเกาะคา
ยังจัดตั้งแหล่งสืบค้นข้อมูลของท้องถิ่นภายในศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประกอบด้วย ห้องอินเตอร์เน็ตชุมชน ตู้หนังสือ
ชุมชน และลานกิจกรรมชุมชนอีกด้วย
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้วยการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อชุมชน (creative space) แบบนี้
เป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการอ่าน การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต และการมี
ปฏิสัมพันธ์ พูดคุย ซักถามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประกอบกับการเปิดเผยข้อมูล และการบริหาร
จัดการอย่างโปร่งใสของเทศบาลตำาบลเกาะคา ก่อให้เกิดการรวมตัวกันในชุมชน เกิดสร้างสรรค์กิจกรรม
อันเป็นประโยชน์ต่อชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อร่วมกันคิดแก้ไขปัญหา ทั้งหมดนี้นำาไปสู่ความเข้มแข็ง
ของชุมชน ประชาชนมีจิตสำานึกสาธารณะ เกิดความรักและรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง