Page 58 - kpiebook63023
P. 58
58 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
“LINE@yalacity : พื้นที่กำรมีส่วนร่วมแบบใหม่ยุคดิจิทัล
ในเทศบำลนครยะลำ”
Social media คือ สื่อสังคมออนไลน์ยุคใหม่ที่เข้ามามีบทบาทสำาคัญในชีวิตประจำาวันของเรา
ทุกคน และถือเป็นโอกาสที่น่าจับตามองขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะใช้ช่องทางนี้ในการเข้าถึงประชาชน
ได้มากยิ่งขึ้น เทศบาลนครยะลาเป็นหนึ่งในองค์กรปกครองท้องถิ่นแห่งแรก ๆ ในประเทศไทยที่เห็นโอกาสนั้น
เดือนสิงหาคม 2560 ที่ผ่านมา นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลาได้เพิ่มช่องทาง
Social media ใหม่ ๆ ในการสื่อสารองค์กรแบบ Two Way Communication ระหว่างเทศบาลกับประชาชน
นั่นคือการใช้แอพพลิเคชั่น LINE ผ่าน Line@yalacity และ Facebook Accounnt เทศบาลนครยะลา Yalacity
เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูล - ข่าวสาร ร่วมเสนอปัญหา/ความต้องการตลอดจนร่วมเสนอไอเดียและ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ประชาชาสามารถเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มไลน์ดังกล่าวได้ด้วยตนเอง โดยการเพิ่มเพื่อนใน
แอพพลิเคชั่นไลน์ ในชื่อ Line@yalacity หลังจากเข้าเป็นสมาชิกของชุมชน Line@yalacity แล้ว ประชาชน
จะใช้ช่องทางนี้ในการรายงานปัญหาในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการได้รับบริการสาธารณะจากเทศบาลไม่ทั่วถึง ปัญหาขยะ
หรือปัญหาความขัดข้องอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำาวันของประชาชนก็สามารถรายงานผ่านไลน์นี้ได้
หลังจากที่ได้รับเรื่องแล้ว ท่านนายกจะมอบหมายให้หน่วย/แผนกที่มีความเกี่ยวข้องลงไปศึกษาปัญหาหน้างาน
และดำาเนินการแก้ไขทันที พร้อมทั้งต้องรายงานผลผ่านไลน์ Line@yalacity นี้ด้วย เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ
ความคืบหน้าไปพร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม บริการนี้ยังมีค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ทางเทศบาลต้องรับผิดชอบ แต่ถือว่า
เป็นการลงทุนที่น้อยแต่คุ้มค่า เพราะไม่เพียงแต่จะทำาให้ประชาชนได้รับความรวดเร็วในการบริการเท่านั้น แต่ยัง
เป็นช่องทางที่เปิดให้เทศบาลได้ติดต่อกับประชาชนโดยตรง ได้นำาประเด็นอื่น ๆ มาบอกกล่าวเพื่อให้ประชาชน
ทราบ ถือเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงประชาชนในยุคดิจิทัลจริง ๆ อีกทั้งยังสะดวกต่อประชาชน
ผู้รับบริการอีกด้วย
“CAR Score : เทศบำลเมืองเขำสำมยอดกับนวัตกรรมกำรติดตำม
และประเมินผลแบบมีส่วนร่วมจำกประชำชน”
เทศบาลเมืองเขาสามยอดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหนึ่งแห่งที่เน้นการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนในการดำาเนินงาน เริ่มจากการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น โดยมีฐานคิดว่าแผนท้องถิ่นที่ดีนั้นต้องเกิดจาก
ความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำาแผนพัฒนาท้องถิ่นตั้งแต่
เริ่มเสนอโครงการจนถึงการติดตามและประเมินผลตามหลักธรรมมาภิบาล ความโปร่งใสและการมีส่วนร่วม
เทศบาลเริ่มจากการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรวมถึงภาคประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับการติดตามประเมินผล และร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามประเมินผลโครงการด้วย โดยเชิญวิทยากร