Page 48 - kpiebook63023
P. 48
48 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
• ประชาชนบางส่วนไม่ตระหนักถึงสิทธิ เข้ามีส่วนร่วมเมื่อมีปัจจัยจูงใจ อามิสสินจ้าง หรือ เข้ามี
ส่วนร่วมแบบไม่มีข้อมูล เข้ามาก็ไม่แสดงความคิดเห็น ส่งผลให้ผู้จัดมองว่าการมีส่วนร่วมเป็น
เรื่องเสียเวลาและไม่มีประโยชน์
• หากยังปล่อยให้สภาพการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นเป็นดังกล่าวข้างต้นคงจะ
ไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยท้องถิ่น เพราะแทนที่จะเสริมความเข้มแข็งให้กับรากฐาน
ประชาธิปไตย กลับเป็นทำาลายเสียมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นภาระหน้าที่ของผู้บริหารและบุคคลากร
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการทำาบทบาทในฐานะเป็น “ผู้นำาการเปลี่ยนแปลง” เพื่อสร้าง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นที่มีคุณภาพ
4.1 ใครควรมีบทบำทในกำรส่งเสริมประชำธิปไตยท้องถิ่น ?
หัวใจสำาคัญของส่งเสริมประชาธิปไตยท้องถิ่น คือการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ การเตรียมความพร้อมของบุคคลากรของท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
เป็นเรื่องที่สำาคัญ
1. ข้ำรำชกำรกำรเมือง (นำยกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
ปัจจัยประการแรกที่จะนำาไปสู่การเสริมสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่นอยู่ที่ผู้นำาหรือนายกเทศมนตรี
หากผู้นำายินดีแบ่งปันอำานาจ มีวิสัยทัศน์เอื้อต่อการสร้างประชาธิปไตยท้องถิ่น โอกาสความสำาเร็จของการมีส่วนร่วม
ของประชาชนย่อมมีมากขึ้นไปด้วย ดังนั้นผู้บริหารควรเป็นผู้น�าขององค์กรสนับสนุนและเต็มใจในการสร้าง
ประชาธิปไตยในพื้นที่ เช่น
• การเปลี่ยนทัศนคติการทำางานหรือการตัดสินใจแบบเก่าที่เน้นจากการตัดสินใจตามสาย
การบังคับบัญชา มาสู่ระบบการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น
• สร้างโครงสร้างและกระบวนการทำางานที่จะดึงให้พลเมืองและพนักงานท้องถิ่นร่วมกันทำางาน
• เปิดองค์กรปกครองท้องถิ่น โดยสร้างความโปร่งใส และขยายขอบเขตการมีส่วนร่วมของประชาชน
• ส่งเสริมการศึกษาเพื่อเปลี่ยนให้ประชาชนมีสำานึกของความเป็นพลเมือง สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ
ชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมเสียสละ
• เสริมสร้าง สนับสนุนให้มีกลุ่ม สมาคม เครือข่ายทางสังคมมีความเข็มแข็งที่ทำางานเพื่อสังคมมากขึ้น
และแสวงหาแนวทางให้ภาครัฐ เอกชน และประชาสังคมทำางานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน