Page 50 - kpiebook63023
P. 50
50 ชุดวิชา ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
เพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมทั้งเป็นการสร้างการเรียนรู้แก่ประชาชน มิเช่นนั้นประชาชน
จะทราบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อตนเอง เมื่อผ่านออกมาเป็นข้อบัญญัติซึ่งมี
ผลบังคับใช้แล้ว
- ด้วยกฎหมายเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเสนอร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นสู่การพิจารณา
ของสภาท้องถิ่นได้ สภาท้องถิ่นควรจัดให้มีหน่วยงานหรือบุคคลที่ให้คำาปรึกษาหารือ
หรือ คำาแนะนำาให้การจัดทำาร่างข้อบัญญัติ หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณา
แก่ประชาชน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น
2. บทบาทในตรวจสอบและถ่วงดุลการบริหารของฝ่ายบริหาร
หัวใจสำาคัญของบทบาทนี้ คือ ต้องชัดเจนว่าสภาท้องถิ่นไม่ใช่ฝ่ายค้าน เหมือนในการเมืองระดับชาติ
ซึ่งหากฝ่ายค้านทำาให้ฝ่ายบริหารล้มเหลวอาจนำามาสู่การเปลี่ยนขั้ว ฝ่ายค้านอาจมาตั้งรัฐบาลได้ หากแต่ภายใต้
ระบบสภาท้องถิ่นและฝ่ายบริหารเข้มแข็ง บทบาทของสภาท้องถิ่นคือ การตรวจสอบถ่วงดุลให้การบริหารงาน
เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม รักษาสัญญาประชาคมที่ฝ่ายบริหารให้ไว้กับประชาชนในการรณรงค์หาเสียงและ
แถลงนโยบาย สมาชิกสภาท้องถิ่นไม่สามารถเปลี่ยนขั้วไปดำารงตำาแหน่งของฝ่ายบริหารได้ หากนายกขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นลาออก ก็จะนำาไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ดังนั้นอย่าเน้นทำาบทบาทค้านทุกเรื่อง เรื่องใดที่เหมาะสม
และเป็นประโยชน์ควรดำาเนินการ สมาชิกสภาควรสนับสนุน
- สำาหรับกลไกในการถ่วงดุลตรวจสอบการทำางานของฝ่ายบริหารแทนประชาชน
ประกอบด้วย
- การรับทราบคำาแถลงนโยบายของผู้บริหาร
- การตั้งกระทู้ถาม
- การขอให้เปิดอภิปรายทั่วไป
- การตั้งคณะกรรมการสามัญ - คณะกรรมการวิสามัญ
3. บทบาทในความสัมพันธ์กับประชาชน
• สมาชิกสภาท้องถิ่นควรผลักดันให้ฝ่ายบริหารเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะประชาชนในวันนี้มีความคิดเห็นแตกต่าง
หลากหลายและได้รับผลกระทบจากประเด็นการพัฒนาแตกต่างกัน เสียงของประชาชนจึงมี
ความสำาคัญ สมาชิกสภาท้องถิ่นถึงแม้มาจากการเลือกตั้งก็ไม่สามารถผูกขาดความคิดเห็นหรือ
“คิดแทน” ประชาชนได้
• สมาชิกสภาท้องถิ่นควรมีช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยตรง เพื่อจะได้ข้อมูล
ที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญหา และความต้องการของประชาชน นอกจากนั้นสภาท้องถิ่นควรริเริ่มให้มี