Page 26 - kpiebook63010
P. 26
25
8. ตัวแบบหลักที่มีผลต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ก็คือตัวแบบการตัดสินใจเลือกตั้งที่เป็นส่วนผสมของ
ตัวแบบเชิงยุทธศาสตร์และตัวแบบทางอารมณ์ มากกว่าการเลือกตั้งในแบบอุดมการณ์และการเลือกตั้งในแบบ
บทที่ 3
นโยบาย
9. นัยยะทางทฤษฎีที่ได้จากการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งในเขต
กรุงเทพมหานครในครั้งนี้คือ การให้ความสำาคัญกับกิจกรรมทางการเมืองและการรณรงค์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จริง
กรอบแนวคิดในกำรพัฒนำ
ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างพรรคการเมือง และนักการเมืองกับประชาชนผู้เลือกตั้ง โดยไม่ละเลยบริบท
ของความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่แบบมหานคร โดยเฉพาะชนิดและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน รวมทั้งการทำางาน
ตัวชี้วัดประชำธิปไตย
และข้อจำากัดของระบบอุปถัมภ์ในพื้นที่เมือง ประโยชน์และข้อจำากัดของการใช้สื่อที่หลากหลายรูปแบบ
ในการเข้าถึงฐานคะแนนเสียง และเข้าใจบริบททางการเมืองระดับชาติของกฎกติกาใหม่ ๆ ที่ส่งผล
ต่อการออกแบบยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการหาเสียงในรอบนี้ การทำาความเข้าใจพลวัตรของความเคลื่อนไหว
และเกณฑ์กำรค�ำนวณ
ทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ทำาให้ไม่ด่วนสรุปว่า พฤติกรรม
การเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครเป็นเรื่องในระดับปัจเจกบุคคลเท่านั้น หรือเป็นเรื่องที่เป็นผลสะท้อนมาจาก
คะแนน
โครงสร้างความขัดแย้งทางสังคมโดยตรงผ่านจุดยืนทางชนชั้น หรือความขัดแย้งที่มีมาแต่เดิม โดยละเลย
การเคลื่อนไหวในระดับพื้นที่และระดับเขต ซึ่งชี้ให้เห็นว่าระบอบการเมืองเดิมที่เข้าร่วมการเลือกตั้งเพื่อดำารง
อำานาจต่อไปนั้น ไม่ได้รับชัยชนะในกรุงเทพมหานครอย่างเอกฉันท์ และไม่เป็นที่นิยมในหมู่ประชาชนส่วนใหญ่
ในกรุงเทพมหานคร แม้ว่าการดำารงอำานาจของระบอบการเมืองเดิมจะประสบความสำาเร็จในการสืบสาน
อำานาจผ่านการเลือกตั้งในระดับประเทศผ่านกฎกติกา ที่เอื้อให้อำานาจนอกการเลือกตั้งเข้ามามีส่วนกำาหนด
ตัวนายกรัฐมนตรี และผ่านการเจรจากับพรรคการเมืองบางพรรคหลังการเลือกตั้งสิ้นสุดลง