Page 24 - kpiebook63010
P. 24

23








                          3.2   พรรคเพื่อไทยสามารถรักษาพื้นที่ทางการเมืองในกรุงเทพมหานครเอาไว้ได้ และพัฒนากลยุทธ์

                                การเลือกตั้งจากแรงกดดันทางโครงสร้างทางการเมืองและความเสียเปรียบในการจัดวาง
                                สถาบันของกระบวนการเลือกตั้ง โดยการเปิดให้สมาชิกบางคนออกไปก่อตั้งพรรคไทยรักษาชาติ

                                ลงสมัครในพื้นที่ที่เพื่อไทยไม่ส่งสมาชิกลงสมัคร โดยมุ่งหวังเก็บคะแนนในระดับบัญชีรายชื่อ
                                แม้ว่าพรรคไทยรักษาชาติจะถูกยุบพรรคไปในท้ายที่สุดแต่เพื่อไทยก็ยังได้ที่นั่งลดลงเพียงแค่

                                หนึ่งที่ ทั้งที่ส่งผู้สมัครไม่ครบทุกเขต และในบางเขตที่แพ้ในคราวที่แล้วก็กลับมาชนะในครั้งนี้

                          3.3   พรรคพลังประชารัฐมีความได้เปรียบจากระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่และระบบเลือกตั้งใหม่
                                รวมทั้งสามารถยึดกุมเครือข่ายการเลือกตั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยอาศัยเครือข่ายการเมือง

                                ในท้องถิ่นเดิมของประชาธิปัตย์และเพื่อไทย อาศัยความนิยมในตัวพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
                                หัวหน้าคณะคสช.และนายกรัฐมนตรี และอาศัยความนิยมของนโยบายของรัฐบาล อาทิ

                                บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

                          3.4   พรรคอนาคตใหม่ประสบความสำาเร็จทางการเมืองจากการพลิกวิกฤติของโครงสร้าง

                                ทางการเมืองมาเป็นโอกาสในการสร้างขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองแบบใหม่ให้เป็น
                                พรรคที่มีอัตลักษณ์ทางการเมืองใหม่ในนามของพรรคของคนรุ่นใหม่ ความหวัง และ

                                การเปลี่ยนแปลงอีกทั้งมีการใช้เทคโนโลยี สื่อใหม่ และนวัตกรรมทางการเมือง แต่ความเป็น
                                ที่นิยมของพรรคอนาคตใหม่ก็เผชิญกับการต่อต้านในหลายรูปแบบทั้งจากฝ่ายก้าวหน้าด้วยกัน

                                และฝ่ายที่มีจุดยืนตรงข้ามโดยเฉพาะที่อยู่ฝั่งเดียวกับฝ่ายผู้มีอำานาจรัฐ

                          4. พรรคการเมืองที่ให้ความสำาคัญกับคะแนนเสียงในกรุงเทพมหานครมักจะมีนโยบายที่เกี่ยวข้อง
                  กับการพัฒนากรุงเทพมหานครเพิ่มเข้ามาจากนโยบายระดับชาติ โดยแบ่งออกเป็นห้าประเภท ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ

                  การจ้างงาน การประกอบอาชีพ 2) การคมนาคมขนส่ง 3) สิ่งแวดล้อม 4) การศึกษา และ 5) การท่องเที่ยว
                  อย่างไรก็ตามนโยบายของทุกพรรคไม่ได้มีแตกต่างกันมากนัก และไม่มีนัยยะสำาคัญในการตัดสินใจของประชาชน

                  ในการเลือกตั้งครั้งนี้


                          5. การวางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของพรรคและผู้สมัครในเขตกรุงเทพมหานครมีส่วนสำาคัญ
                  ในการกำาหนดความสำาเร็จและความล้มเหลวของการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดยแบ่งออกเป็น


                          5.1   การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ โดยเฉพาะลักษณะทางประชากร การเมือง เศรษฐกิจ

                                และ สังคมของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

                          5.2   ความเข้าใจความหลากหลายของ “ชุมชน” ที่เป็นหน่วยสำาคัญในกระบวนการรณรงค์
                                หาเสียงเลือกตั้งและตัดสินใจทางการเมือง โดยเฉพาะ ชุมชนที่เชื่อมโยงกับระบบสวัสดิการ

                                จากหน่วยการปกครองท้องถิ่น และชุมชนแบบบ้านมีรั้ว เพราะชุมชนทั้งสองแบบนี้
                                มีชีวิตทางการเมืองและการเข้าถึงข้อมูลทางการเมืองที่แตกต่างกันไป
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29