Page 22 - kpiebook63010
P. 22

21











                  บทสรุปส�ำหรับ


                  ผู้บริหำร















                          รายงานวิจัยฉบับนี้ศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิก

                  สภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์
                  ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ ในมิติของ

                  1) บรรยากาศทางการเมืองและความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรค องค์กร และกลุ่มทางการเมือง
                  2) ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎร 3) บทบาทของ

                  หน่วยงานภาครัฐ บริษัทเอกชน องค์กรสาธารณะ และองค์กรอื่น ๆ ที่เข้ามามีบทบาทในการเลือกตั้ง
                  4) การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมทางการเมือง แบบแผนพฤติกรรมทางการเมือง ของประชาชน และ

                  กลุ่มการเมือง 5) พฤติกรรมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องค่าใช้จ่าย 6) การเปลี่ยนแปลงของ
                  ขั้วอำานาจทางการเมือง การย้ายพรรคการเมือง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจทางการเมือง รวมทั้งการวิเคราะห์

                  ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น 7) การเคลื่อนไหวและการรณรงค์ในเรื่องการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครที่ปรากฏ
                  ในสื่อออนไลน์ และ 8) ประเด็นอื่น ๆ ที่น่าสนใจที่ปรากฏขึ้นมาในช่วงการวิจัย


                          ในการศึกษาปรากฏการณ์ทางการเมืองดังกล่าว รายงานวิจัยนี้ได้ 1) สำารวจและบันทึกปรากฏการณ์

                  ทางการเมือง โดยเฉพาะในมิติของความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภา
                  ผู้แทนราษฎรเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ทำาการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ดังกล่าว

                  ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับกรุงเทพมหานคร และ 3) วิเคราะห์ความเชื่อมโยงที่มีกับปรากฏการณ์ทางการเมืองของ
                  การเลือกตั้งครั้งนี้ในระดับชาติ


                          ความสำาคัญของกรุงเทพมหานครในการศึกษาการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 ได้แก่

                  การที่กรุงเทพมหานครมีจำานวน ส.ส. มากที่สุดในประเทศ คือ 30 คน และเป็นศูนย์กลางทางการเมืองการปกครอง
                  เศรษฐกิจ และสังคม อีกทั้งส่งอิทธิพลทางการเมืองต่อพื้นที่ที่เหลือของประเทศเพราะมีพื้นที่สื่อมากที่สุด

                  เดิมพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างพรรคเพื่อไทยกับพรรคประชาธิปัตย์ มาตั้งแต่
                  ปี พ.ศ. 2544 และมักจะมีผลการเลือกตั้งที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับการเลือกตั้งในประเทศ โดยประชาธิปัตย์

                  มักจะได้ชัยชนะในกรุงเทพมหานคร ขณะที่เพื่อไทยจะได้จัดตั้งรัฐบาล นอกจากนี้ในการเลือกตั้งรอบนี้ยังมี
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27