Page 23 - kpiebook63010
P. 23

22       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







             พรรคใหม่ ๆ ที่ลงสมัครในเขตกทม. เช่น พลังประชารัฐและอนาคตใหม่ ซึ่งเป็นที่สนใจในหมู่ประชาชน

             เป็นอย่างมาก ในประการสุดท้ายกฎกติกาใหม่ของการนับคะแนนในส่วน ส.ส. บัญชีรายชื่อทำาให้ทุกพรรค
             ต้องให้ความสำาคัญกับทุกคะแนนเสียงที่ได้ แต่ละพรรคจึงมีแนวโน้มที่จะแข่งขันกันอย่างเต็มที่โดยเฉพาะ

             กรณีของกรุงเทพมหานครที่มีประชากรจำานวนมาก และมีความคึกคักของกิจกรรมรณรงค์หาเสียงเป็นอย่างมาก


                        แนวทางการศึกษาของงานวิจัยชิ้นนี้คือการสำารวจเอกสารทั้งงานวิจัยเก่า กรอบกฎหมายต่าง ๆ
             และฐานข้อมูลข่าวในอินเทอร์เน็ต และจากฐานข้อมูล Newscenter การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้เกี่ยวข้อง
             ในการเลือกตั้งในครั้งนี้ การสังเกตุการณ์แบบมีส่วนร่วม โดยทำาการวิจัยตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้ง เน้นช่วง

             การเลือกตั้งและหลังการเลือกตั้ง


                      ผลวิจัยพบว่า


                      1. การเลือกตั้งครั้งนี้ในเขตกรุงเทพมหานคร เกิดขึ้นหลังจากที่ว่างเว้นมานานถึง 8 ปี อันเป็น
             ผลมาจากความวุ่นวายทางเมืองที่นำาไปสู่การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2557 โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

             (คสช.) การปกครองภายใต้ คสช. นำาไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎกติกาการเมืองตั้งแต่การมีรัฐธรรมนูญใหม่
             ในปี พ.ศ. 2560 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับระบบการเลือกตั้งและพรรคการเมือง นอกจากนี้

             พรรคการเมืองและประชาชนยังถูกห้ามไม่ให้มีกิจกรรมทางการเมืองนับตั้งแต่การทำารัฐประหารเป็นต้นมาจนกระทั่ง
             ก่อนเข้าช่วงการเลือกตั้ง


                      2. การเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครในครั้งนี้มีการจัดการเลือกตั้งทั้งหมด 30 เขต เปลี่ยนจาก

             33 เขตในคราวที่แล้ว ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้ พรรคพลังประชารัฐได้ที่นั่ง 12 ที่นั่ง พรรคเพื่อไทย 9 ที่นั่ง
             พรรคอนาคตใหม่ 9 ที่นั่ง โดยทั้งสามพรรคได้คะแนนที่นั่งในกรุงเทพมหานครเป็นสัดส่วนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับ

             คะแนนเสียงจากจังหวัดอื่น ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเคยมีเสียงและมีที่นั่งมากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานคร
             ในครั้งที่แล้ว (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554) ไม่ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งแม้แต่เขตเดียว แต่ก็ยังมีคะแนนเสียง

             ในระดับที่มีนัยยะสำาคัญ


                      3. จากการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้งของพรรคหลักทั้ง 4 พรรคที่ได้คะแนนเสียงอย่างมีนัยยะสำาคัญ
             ในกรุงเทพมหานคร จะพบว่า


                      3.1   พรรคประชาธิปัตย์เผชิญประเด็นท้าทายในเรื่องของยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองในระดับ

                            จุดยืนทางการเมือง เพราะวางตำาแหน่งทางการเมืองเอาไว้ว่าไม่สนับสนุน คสช. และไม่สนับสนุน
                            ฝ่ายทักษิณ นอกจากนี้ พรรคฯ ยังเสียเปรียบในการเลือกตั้งในครั้งนี้จากความเข้มแข็งเชิงสถาบัน

                            ของพรรคประชาธิปัตย์เอง เพราะสมาชิกจำานวนหนึ่งย้ายไปสังกัดพรรคอื่นและได้ชัยชนะ
                            เพราะสมาชิกพรรคประชาธิปปัตย์คนเดิมที่เคยได้รับชัยชนะ ยังได้รับการสนับสนุนจากพรรค

                            ให้ลงสมัครในพื้นที่เดิมที่เคยชนะ
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28