Page 25 - kpiebook63010
P. 25

24       การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้ง
                    สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร







                      5.3   ระบบอุปถัมภ์ยังมีผลต่อความสำาเร็จของการรณรงค์และชัยชนะในการเลือกตั้ง แม้ว่า

                            ระบบอุปถัมน์จะไม่ใช่สิ่งที่กำาหนดชัยชนะในการเลือกตั้งของพื้นที่ทั้งหมดของกรุงเทพมหานคร
                            แต่เนื่องจากหลายเขตคะแนนสูสี คะแนนที่ชนะอาจจะมาจากการรณรงค์การเลือกตั้งที่กระทำา

                            ผ่านเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ในชุมชน และในรอบนี้ระบบอุปถัมภ์อาจแบ่งเป็นระบบอุปถัมภ์
                            ในระดับชุมชน ในระดับเขต และในระดับประเทศ

                     5.4   การเข้าใจการใช้สื่อทั้งในรูปแบบเดิมและในแบบใหม่ ๆ เช่นสื่อโซเชียล มีผลต่อการออกแบบ

                            ยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ในการเข้าถึงฐานคะแนนเสียง โดยเฉพาะเมื่อผู้ลงคะแนนนั้นอยู่ใน
                            รูปแบบชุมชนที่แตกต่างกันออกไป


                      6. ความซับซ้อนและของพลวัตรในเรื่องการทุจริตการเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น


                     6.1   เกิดจากทั้งตัวผู้สมัครเอง อาทิการซื้อเสียง ข่มขู่ เล่นพนัน โดยเชื่อมโยงกับระบบอุปถัมภ์
                            ในชุมชน

                     6.2   เกิดจากความเคลือบแคลงสงสัยต่อหน่วยงานของรัฐในการจัดการการเลือกตั้งในครั้งนี้ ตั้งแต่

                            การจัดเขตเลือกตั้งที่เปลี่ยนไปจากคราวที่แล้ว การนับคะแนนในระดับหน่วย การนับคะแนน
                            ในระดับเขต การรายงานผลที่เกิดความล่าช้า

                     6.3   เกิดจากความเคลือบแคลงสงสัยต่อระบอบการเมืองที่ดำารงอยู่ นับตั้งแต่การทำาให้การรณรงค์

                            หาเสียงของพรรคเก่าช้ากว่าพรรคใหม่ การใช้อำานาจเต็มของรัฐบาล การที่สมาชิกในรัฐบาล
                            เกี่ยวพันกับพรรคการเมืองบางพรรคอย่างเปิดเผย หรือการโอนเงินพิเศษเข้ามาในช่วง

                            เลือกตั้งผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ



                      ทั้งนี้ พลวัตรและความซับซ้อนของการทุจริตการเลือกตั้งนั้นไม่ใช่เงื่อนไขสุดท้ายที่ส่งผลต่อการเลือกตั้ง
             ชัยชนะของพรรคการเมืองที่ไม่ใช่ฝ่ายที่มีอำานาจรัฐและหาเสียงโดยจุดยืนต่อต้านรัฐ ทั้งเพื่อไทยและอนาคตใหม่

             ยังได้รับชัยชนะมากกว่าพรรคพลังประชารัฐ และผู้สมัครของเพื่อไทยและอนาคตใหม่ก็ยังสามารถแก้ไขปัญหา
             แนวโน้มของการทุจริตในพื้นที่ได้


                      7. ผลของการเลือกตั้งในครั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง

             ที่ซับซ้อนขึ้นในการเมืองของไทยที่มีอยู่สามระดับ ได้แก่ ความขัดแย้งแบบสีเสื้อที่ดำาเนินมาก่อนการทำารัฐประหาร
             22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการสนับสนุนและต่อต้านการทำารัฐประหารและระบอบ

             การปกครองภายใต้คณะรัฐประหาร และ ความขัดแย้งใหม่จากการเลือกตั้งในรอบนี้ระหว่างการเมืองเก่า
             และการเมืองใหม่ โดยมีพรรคอนาคตใหม่เป็นแกนกลางของความขัดแย้ง
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30