Page 25 - kpiebook63009
P. 25

25






                  บทที่ 1





                  บทน�ำ





















                  1. หลักกำรและเหตุผล



                          ประชาธิปไตย คือการปกครองโดยผู้ถูกปกครอง หรือ การปกครองโดยประชาชน โดยหลักการ

                  ที่สำาคัญๆ ของประชาธิปไตยประกอบด้วย 1) ความเชื่อในหลักการอำานาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งแสดงให้เห็นได้
                  จากการเลือกตั้ง การรวมตัวเป็นกลุ่มผลประโยชน์ และการรวมตัวเป็นพรรคการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง

                  อย่างอื่น และการถือหลักตัดสินใจโดยเสียงข้างมากที่เคารพสิทธิของเสียงข้างน้อย 2) หลักการว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ
                  3) หลักการว่าด้วยความเสมอภาค และ 4) เชื่อในหลักภราดรภาพของมนุษย์ (วิสุทธิ์ โพธิแท่น 2551: 1-80)


                          สำาหรับประเทศไทยได้นำารูปแบบการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมาใช้นับตั้งแต่ พ.ศ.2475

                  เป็นต้นมา โดยผู้ปกครองพยายามให้ความสำาคัญกับความเชื่อในอำานาจอธิปไตยของปวงชนที่แสดงผ่านการเลือกตั้ง
                  แต่ก็จะพบว่าตลอดระยะเวลาเกือบ 80 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดให้มีการเลือกตั้งเป็นช่วงๆ สลับกับการยึดอำานาจ


                          อย่างไรก็ตามการเลือกตั้ง ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
                  โดยการออกเสียงลงคะแนนตามความคิดเห็นของตนเองโดยอิสระว่าจะเลือกผู้ใดเป็นตัวแทนของตนเข้าไปใช้อำานาจ

                  อธิปไตยบริหารกิจการของประเทศ ซึ่งผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นจะเป็นผู้ที่สมัครใจเสนอตัวเข้ามาให้ประชาชนเลือก

                  และผู้ที่ได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้แทนของประชาชนทั้งหมด
                  มีสิทธิตามที่ได้รับมอบหมายจากประชาชนให้เข้าร่วมเป็นคณะบุคคลดำาเนินการบริหารและปกครอง
                  (พิมลจรรย์ นามวัฒน์ 2534: 716)


                          นอกจากนี้การเลือกตั้งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน

                  (Universal Declaration of Human Rights) ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในรัฐบาลประเทศของตน ไม่ว่า
                  โดยทางตรงหรือโดยทางอ้อม โดยผ่านทางผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งโดยอิสระ เจตจำานงของประชาชนย่อมเป็น

                  มูลฐานแห่งอำานาจของรัฐบาล เจตจำานงเช่นนี้ต้องแสดงออกโดยการเลือกตั้งที่สุจริต ตามระยะเวลาที่กำาหนด
                  ที่จะเป็นการออกเสียงทั่วไป เป็นไปอย่างเสมอภาคด้วยวิธีการที่เป็นความลับหรือการลงคะแนนโดยอิสระ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30