Page 27 - kpiebook63009
P. 27

27








                          จากโครงสร้างดังกล่าวนี้ ได้ส่งผลให้การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นแตกต่างจากการเลือกตั้งที่ผ่านมาตั้งแต่

                  หลังปี พ.ศ. 2544 โดยสิ้นเชิง เช่น การเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว โดยใช้การนับคะแนนแบบจัดสรรปันส่วนผสม
                  ยังมีมาตรการใหม่ที่กำาหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือกตั้งขั้นต้น (แม้ภายหลังจะมีมาตรา 44 ออกมาสร้าง

                  ความยืดหยุ่นให้กับมาตรการดังกล่าว) เงื่อนไขใหม่เกี่ยวกับการจัดตั้งพรรคการเมือง หน้าที่และสถานภาพ
                  ของสมาชิกพรรคการเมือง และคณะกรรมการบริหารพรรค รวมทั้งการกำาหนดโทษของพรรคการเมืองไว้สูงมาก

                  การกำาหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของพรรคการเมืองและวิธีการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง
                  ในมาตรา 62-83 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง บทบาทที่เพิ่มมากขึ้นของ

                  คณะกรรมการการเลือกตั้ง พร้อมกับการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน
                  ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกติกา หรือบทบัญญัติใหม่ที่เกิดขึ้น ที่จะส่งผลต่อโครงสร้างทางการเมือง และการเปลี่ยนแปลง

                  ของสถาบันการเมืองไทยอีกหลายสถาบัน ซึ่งยังไม่นับถึงพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอีกหลายฉบับ
                  ที่ให้บทบาทหน้าที่กับองค์กรอื่นๆ มากขึ้น ซึ่งจะมีผลต่ออำานาจและบทบาทของผู้แทนราษฎรและรัฐบาล

                  ที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง


                          ทั้งนี้หากพิจารณาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยสังเขปในบางเรื่อง
                  เช่น หน้าที่ของปวงชนชาวไทย บัญญัติไว้ในหมวด 4 เกี่ยวกับการเลือกตั้งหรือการลงประชามติว่า “ไปใช้สิทธิ

                  เลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำานึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำาคัญ” (ราชกิจจานุเบกษา
                  เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก มาตรา 50 (7))


                          นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยังได้บัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ

                  การเลือกตั้งไว้ในหลายประเด็น คือ 1) กำาหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (มาตรา 95) ขณะเดียวกันได้
                  บัญญัติถึงคุณสมบัติของบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามใช้สิทธิเลือกตั้ง (มาตรา 96) 2) องค์กรอิสระที่เข้ามาทำาหน้าที่
                  ในการจัดการเลือกตั้ง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 222-223) อำานาจหน้าที่ (มาตรา 224)

                  3) สภาผู้แทนราษฎร ได้บัญญัติถึงจำานวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 83) คุณสมบัติผู้มีสิทธิสมัคร

                  รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 97) และลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
                  เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (มาตรา 98) (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก)


                          สำาหรับกรณีการเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีนั้น โดยพื้นฐานที่ผ่านมา ถือว่าเป็นพื้นที่การเลือกตั้ง
                  ที่ไม่พบความขัดแย้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ การเลือกตั้งในจังหวัดสุพรรณบุรี

                  นับตั้งแต่การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา เป็นพื้นที่ผูกขาดของผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคชาติไทย
                                                                                                           1
                  มาโดยตลอด แม้ว่าในการเลือกตั้งครั้งต่างๆ ที่ผ่านมาจะมีพรรคการเมืองหลายพรรคได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                  เข้าลงแข่งขัน เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 มีพรรคการเมือง
                  ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง 6 พรรค ประกอบด้วย พรรคชาติไทย ความหวังใหม่ ไทยรักไทย ประชาธิปัตย์ ประชากรไทย



                  1   พรรคชาติไทยเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา เมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
                  มีมติให้ยุบพรรคเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 และต่อมาศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ยุบพรรคและตัดสิทธิทางการเมือง
                  กรรมการของพรรคเป็นเวลา 5 ปี ในวันที่ 2 ธันวาคม 2551
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32