Page 29 - kpiebook63009
P. 29

29








                  ซึ่งมาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่ของตระกูล “ศิลปอาชา” เช่นเดียวกับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับเลือกตั้ง

                  มาครั้งแรกในนามของพรรคชาติไทยในเขตเลือกตั้งที่ 3 คือ นายนพดล มาตรศรี ขณะเดียวกันการเลือกตั้งครั้งนี้
                  ถือเป็นการสูญเสียพื้นที่การเลือกตั้ง 1 เขต ให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค

                  “เพื่อไทย” เขตเลือกตั้งที่ 5 คือ นายสหรัฐ กุลศรี


                          ในการจัดการการเลือกตั้งของจังหวัดสุพรรณบุรีนั้น ที่ผ่านมาบุคลากรที่เข้ามาทำาหน้าที่เป็น
                  คณะกรรมการการเลือกตั้งในระดับเขตส่วนใหญ่จะเป็นข้าราชการครูในตำาแหน่งต่างๆ และมักจะมีประสบการณ์

                  ในการทำางานมาต่อเนื่อง ทั้งนี้ในส่วนขององค์การเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง มีเพียง 2 องค์กร และมีปัญหา
                  ที่พบคือ มีจำานวนน้อย ขาดความเข้มแข็ง ระยะเวลาในการทำาหน้าที่กระชั้นชิด ทำาให้ความพร้อมในการปฏิบัติงาน

                  และการคัดสรรบุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติงานไม่พร้อม จึงทำาให้เกิดความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่อยู่บ้าง
                  (ฐปนรรต พรหมอินทร์ 2547: บทคัดย่อ)


                          ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดการเลือกตั้งขึ้น จังหวัดสุพรรณบุรีถือว่า พรรคชาติไทย/พรรคชาติไทยพัฒนา
                  ยึดครองพื้นที่มานับตั้งแต่การเลือกตั้ง พ.ศ. 2531 จนถึงการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ที่พรรคชาติไทยพัฒนาต้อง

                  สูญเสียพื้นที่เป็นครั้งแรกให้กับพรรคเพื่อไทย หลังจากที่พรรคชาติไทย หรือพรรคชาติไทยพัฒนาครองพื้นที่

                  จังหวัดสุพรรณบุรีอย่างต่อเนื่องมากว่า 23 ปี ขณะเดียวกันการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2554 ก็เป็นครั้งแรกที่ตระกูล
                  “ศิลปอาชา” มิได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้งด้วยเช่นกัน


                          ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในช่วงระยะเวลา 8 ปี ที่ผ่านมา และด้วยความเปลี่ยนแปลง
                  ที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งจากการเปลี่ยนแปลงตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะการที่ตระกูล

                  “ศิลปอาชา” จากการที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ซึ่งเป็นผู้ที่ประชาชนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีต่างให้การยอมรับถึง

                  ผลงานที่ได้สร้างไว้ให้กับจังหวัดได้สิ้นชีวิต ประกอบกับตระกูล “ศิลปอาชา” ก็มิได้ส่งทายาทลงสมัครรับเลือกตั้ง
                  ในระบบเขตเลือกตั้งด้วย จึงเป็นที่น่าจับตามองว่า การเลือกตั้งครั้งใหม่นี้จะส่งผลต่อพรรคชาติไทยพัฒนา
                  และพรรคการเมืองอื่นๆ ที่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ อย่างไร พฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน

                  จะมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ ประกอบกับกรอบกติกาใหม่ ผลของการเลือกตั้งยังจะยืนยันความตั้งมั่น

                  ของระบบพรรคการเมือง หรือความเข้มแข็งของพรรคการเมืองบางพรรคที่เคยก่อร่างสร้างตัวมาจากรัฐธรรมนูญ
                  แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้หรือไม่


                          จากประเด็นทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ควรจะได้รับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
                  ในระดับพื้นที่ ทั้งในส่วนของผู้สมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมือง และพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

                  ทางการเมืองของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งถือว่ามีความสำาคัญเป็นอย่างยิ่งที่ในการที่จะพัฒนาการเมือง
                  การปกครองไทยในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34